DSpace Repository

การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor ยศวีร์ สายฟ้า
dc.contributor.author รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:35:16Z
dc.date.available 2020-11-11T13:35:16Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70047
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร และ(2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนทั้ง 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสำรวจการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กประถมศึกษา และ(2) แบบสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ครูมีการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.54, SD = 0.39) รองลงมาคือด้านการสังเกตพฤติกรรมและประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก (M = 4.42, SD = 0.47) ด้านการชี้แนะโดยตรงเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการปรับตัว (M = 4.41, SD = 0.39) และด้านการเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนสำหรับเด็ก (M = 4.28, SD = 0.36) อยู่ในระดับมาก และครูมีปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระน้อยที่สุด       (M = 4.03, SD = 0.44)
dc.description.abstractalternative The objectives of this mixed-methods research were (1) to study practices of Social and Emotional Learning (SEL) process for children in the transition period to Primary 1 from 4 types of schools in Bangkok and (2) to compare practices of SEL process for children in the transition period to Primary 1 from those schools. The research samples were 302 first grade teachers from those schools. Research tools included (1) survey of practices promoting SEL for primary students and (2) teacher interviewing. The research results showed that teachers’ practices to improve SEL in the area of interaction between teachers and students reached the highest level (M = 4.54, SD = 0.39); the area of observation and evaluation of student’s SEL progression (M = 4.42, SD = 0.47), direct teaching to promote students’ learning and adjustment (M = 4.41, SD = 0.39) and being a role model for students (M = 4.28, SD = 0.36) in the high level; and in the area of arranging independent learning atmosphere in the lowest level (M = 4.03, SD = 0.44).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.967
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1
dc.title.alternative A study of development of social and emotional learning for children during a transition from kindergarten to primary 1
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ประถมศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.967


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record