DSpace Repository

การปรับความลึกในการตัด สำหรับชิ้นส่วนอากาศยาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ
dc.contributor.author ชัชนก ขำแผลง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:54:44Z
dc.date.available 2020-11-11T13:54:44Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70350
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสึกหรอของเม็ดมีดคาร์ไบด์อันเนื่องมาจากกระบวนการกลึงอินโคเนล718 ซึ่งพบปัญหาว่าเมื่อผลิตงานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ขนาดของชิ้นงานคลาดเคลื่อนไปตามอายุเม็ดมีดกลึงที่มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการปรับค่าความลึกในการกลึงของพนักงาน แต่การปรับค่าของพนักงานนี้ยังไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดของเสียมากมายจากกระบวนการนี้ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การหาค่าการปรับความลึกการกลึงที่ถูกต้องและทำให้ผลิตงานที่ดีได้ ซึ่งผลที่ได้จากการทดลอง คือ กราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะสึกของเม็ดมีดกลึงกับอายุของเม็ดมีดกลึงและค่าระยะสึกเม็ดมีดกลึงนี้สามารถนำมาใช้หาค่าการปรับความลึกได้ ซึ่งทำให้สามารถหากราฟความสัมพันธ์ระหว่างการปรับความลึกของเม็ดมีดกลึงกับอายุของเม็ดมีดกลึง และค่านี้สามารถนำไปสร้างสมการการปรับความลึกการตัดในช่วงอายุของเม็ดมีดกลึงต่างๆได้ ซึ่งเมื่อนำค่าการปรับความลึกที่ได้จากสมการไปทดลองผลิตชิ้นงานพบว่าได้ชิ้นงานเป็นงานดีทั้งหมด และเมื่อนำขนาดชิ้นงานที่ผลิตด้วยการปรับลึกจากสมการมาคิดเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนและเปรียบเทียบขนาดชิ้นงานที่ผลิตด้วยการปรับลึกด้วยพนักงาน จะพบว่าวิธีการปรับลึกด้วยสมการได้ขนาดของชิ้นงานที่มีค่าความคลาดเคลื่อนที่น้อยกว่า โดยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่มากที่สุดของค่าการปรับจากพนักงาน คือ 0.947 เปอร์เซ็นต์ แต่เปอร์เซ็นความคลาดเคลื่อนที่มากที่สุดของค่าการปรับจากสมการ  คือ  0.168 เปอร์เซ็นต์
dc.description.abstractalternative This research is relevant to studying the wear down of carbide cutting tools as a result of Inconel 718 turning process which the size of the product is affected by the tool life after an uninterrupted long period of the production. Despite the depth in the turning process was adjusted by the operator but it was not accurate and caused the huge amount of scrapped parts.  Therefore, this research proposal is to find the optimized adjustment of the turning depth which could produce the conformity part. The results obtained from the experiment are the graph between the sizes of the cutting tool caused by the wear down and the tool life and  the graph between the turning depth and the tool life which the results are led to the formula of the adjustment of the cutting depth and prevent the scrapped parts.  The depth adjustment value obtained from the equation was used to produce the workpieces, all of them show the good result. After using the size of the produced workpiece from the depth adjustment by the equation to figure out the percentage of error compared to the size of the produced workpiece from the depth adjustment by the operator, the result shows the method of depth adjustment by the equation has less the percentage of error which the highest percentage of error from adjustment by the operator is 0.947% but the highest percentage of error from depth adjustment by the equation is 0.168%.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1308
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การตัดวัสดุด้วยเครื่องกล
dc.subject Machining
dc.subject.classification Engineering
dc.title การปรับความลึกในการตัด สำหรับชิ้นส่วนอากาศยาน
dc.title.alternative The turning depth adjustment for aerospace part
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Somkiat.Ta@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1308


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record