DSpace Repository

ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระ สมบูรณ์
dc.contributor.author จรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:05:35Z
dc.date.available 2020-11-11T14:05:35Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70381
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงแนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียนผ่านมิติของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนระหว่างปี ค.ศ. 2010 – 2019 เป็นสำคัญ โดยมีโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง เป็นกรณีศึกษา ประเด็นปัญหาของการศึกษานี้มีความสำคัญเพราะนับจากการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนในปี ค.ศ. 2008 แนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้กลายเป็นหลักการสำคัญที่อาเซียนใช้ดำเนินนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด อีกทั้งที่ผ่านมาอาเซียนเชื่อว่าการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันภายในประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยสนับสนุนบทบาทความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมแห่งภูมิภาคได้ งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและอาศัยทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันของโรเบิร์ต โคเฮนในการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนจากกรณีของโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิงจะไม่สามารถช่วยส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้ เนื่องจากภายใต้กรอบแนวคิดเสรีนิยมเชิงสถาบันที่ใช้ในการศึกษาชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อจำกัดภายในอาเซียน คือ รูปแบบและลักษณะของความร่วมมือเชิงสถาบันด้านความเชื่อมโยงของอาเซียน และ (2) ข้อจำกัดภายนอกอาเซียน คือ การส่งออกรถไฟความเร็วสูงภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งข้อจำกัดทั้งสองต่างก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาเซียนมิอาจบรรลุไปสู่เป้าหมายของการส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้ดังที่ได้วางแผนไว้
dc.description.abstractalternative The primary aim of this thesis is to examine the notion of ASEAN Centrality through ASEAN Connectivity dimension between 2010 and 2019 with the Singapore-Kunming Rail Link (SKRL) as the case study. Its research problems are significant because ASEAN Centrality is an important principle that ASEAN has employed in conducting its external relations since it was mandated in the ASEAN Charter in 2008. Meanwhile, ASEAN believes that enhancing connectivity among ASEAN Member States will promote its centrality and serve ASEAN as the primary driving force in the regional architecture. This study is a documentary research and relies on Robert Keohane’s theory of Institutional Liberalism in developing its conceptual framework.  The thesis argues that the enhancement of ASEAN Connectivity in the case of the Singapore-Kunming Rail Link (SKRL) is unable to promote ASEAN Centrality. This is due to two limitations, as can be seen from the conceptual framework of Institutional Liberalism, that obstruct ASEAN from achieving the goal of centrality. The limitations can be divided into 2 factors, namely, internal limitations and external limitations. Internal limitations include the form and nature of institutional cooperation on ASEAN connectivity. And external limitations refer to the export of high-speed rail link projects from China to Southeast Asia under the One Belt One Road scheme. Both limitations also affect the implementation of the Singapore-Kunming Rail Link (SKRL) and become a cause of ASEAN’s inability to achieve its goal of centrality as has been planned.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.751
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ทางรถไฟ -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
dc.subject การขนส่งทางบก
dc.subject รถไฟความเร็วสูง
dc.subject Railroad rails -- Southeast Asia
dc.subject Transportation, Automotive
dc.subject High speed trains
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง
dc.title.alternative ASEAN centrality and ASEAN connectivity : the case of Singapore-Kunming Rail Link Project
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Vira.So@Chula.ac.th
dc.subject.keyword ASEAN
dc.subject.keyword ASEAN Centrality
dc.subject.keyword ASEAN Connectivity
dc.subject.keyword Singapore-Kunming railway link (SKRL)
dc.subject.keyword China
dc.subject.keyword อาเซียน
dc.subject.keyword ความเป็นแกนกลางของอาเซียน
dc.subject.keyword ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
dc.subject.keyword โครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง
dc.subject.keyword จีน
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.751


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record