Abstract:
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจำนวนจุลินทรีย์ชี้แนะ ปริมาณแร่ธาตุทองแดง และสังกะสี ในน้ำเสียก่อนและหลังผ่านระบบบำบัดน้ำเสียในฟาร์มสุกรในประเทศไทย พบว่าระบบที่นิยมใช้มี 2 รูปแบบ คือ ระบบไบโอแก๊ส และระบบบ่อบำบัด ระบบไบโอแก๊สประกอบด้วย ระบบไบโอแก๊ส BAU ระบบไบโอแก๊สแบบ่อคลุม ระบบไบโอแก๊สแบบ CARMATEC ส่วนระบบบ่อบำบัดประกอบด้วย ระบบถังกรองไร้อากาศ และระบบบ่อปรับเสถียร การศึกษาเริ่มจากการเก็บตัวอย่างน้ำเสียจากฟาร์มสุกรในจังหวัดราชบุรี ระบบละ 5 ฟาร์มๆ ละ 2 ครั้ง ในระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2548 และเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2549 ผลการศึกษาพบว่าน้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัดจากฟาร์มสุกรที่ใช้ระบบบำบัดแบบไบโอแก๊สมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด เชื้อจุลินทรีย์ชี้แนะกลุ่มโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์ม ปริมาณแร่ธาตุทองแดงและสังกะสีมากกว่าน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ใช้ระบบ บ่อบำบัดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ผลการเปรียบเทียบจำนวนจุลินทรีย์และปริมาณแร่ธาตุที่ทดสอบในน้ำเสียที่ผ่านระบบบำบัดทุกระบบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ระบบบำบัดน้ำเสียทุกระบบสามารถลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ชี้แนะ และปริมาณแร่ธาตุทองแดงและสังกะสีได้ อย่างไรก็ตามพบว่าน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ชี้แนะกลุ่มโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์มเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10[superscript 3] 10[superscript 5] MPN/100 ml ส่วนแร่ธาตุทองแดงมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.02 0.28 พีพีเอ็ม และสังกะสีมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.49 2.46 พีพีเอ็ม และพบว่าน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ผ่านการบำบัดแล้วมีค่าพารามิเตอร์ได้แก่ ค่า BOD COD TKN และ SS ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด ส่วนใหญ่ยังมีจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ชี้แนะกลุ่มโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์ม ปริมาณแร่ธาตุทองแดงและสังกะสีอยู่ในปริมาณที่สูงเกินกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดให้มีได้สำหรับน้ำผิวดินที่ใช้ในการเกษตร จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ผ่านระบบบำบัดแล้วผ่านเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดยังมีเชื้อจุลินทรีย์ชี้แนะในปริมาณสูงและอาจมีแร่ธาตุทองแดงและสังกะสีตกค้าง