DSpace Repository

การศึกษาทฤษฎีผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ กรณีการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชฎิล โรจนานนท์
dc.contributor.author ฐาปนี ธุระพ่อค้า
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:05:58Z
dc.date.available 2020-11-11T14:05:58Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70424
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการนำทฤษฎีผลักดันมาประยุกต์ใช้กับหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้ข้อความเชิงโน้มน้าวใจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นตัวแทนพนักงานศุลกากรจากกองตรวจสอบอากรและตัวแทนผู้นำเข้า/ส่งออกที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ วิธีการวิจัยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการปรับพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยและตรวจพบว่ามีภาระค่าภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วน โดยใช้ข้อความโน้มน้าวตามหลักทฤษฎีผลักดันในรูปแบบต่าง ๆ ในหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบเพื่อปรับอคติที่เกิดจากกระบวนความคิดและจูงใจให้ผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจในการเลือกทางเลือกที่มีมากกว่าหนึ่งทางเลือกให้เลือกที่จะะงับคดีในชั้นศุลกากร ซึ่งข้อความที่ใช้ในการวิจัยนี้มี 5 รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีผลักดันมีส่วนที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลให้เครื่องมือของกองตรวจสอบอากรในการจัดเก็บรายได้ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้การสื่อสารเชิงโน้มน้าวเพื่อปรับอคติที่เกิดจากกระบวนการคิดและศึกษาสำนึก อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของผู้ประกอบการที่ขาดชำระภาษี โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้เลือกรูปแบบข้อความที่ผสมระหว่างรูปแบบ "การข่มขู่ให้คล้อยตาม" และรูปแบบ "ผลประโยชน์" มากที่สุด (รูปแบบแทงกั๊ก)
dc.description.abstractalternative To examine the approach to taking nudge theory into practice in case of on-site post clearance audit conducted under the Thai Customs Department by applying persuasive messages to the letter "report after the audit" for enhancing effectiveness on taxation (settling the cases and tax & duty collection). The key informants consist of selected group (nonrandom) of officers from the Post Clearance Audit Division and representatives of entrepreneur who experienced as auditees. The research method is qualitative research method with in-depth semi-structured interviews on applying the nudge adjusting auditee's behaviour. It was found that the nudge theory is able to be a part of enhancing effectiveness on taxation of the Post Clearance Audit Division with persuasive communication to adjust cognitive biases and heuristics that would lead to rational decision making by entrepreneurs on tax compliance. The result shows that most of the key informants chose the combination type of "Threat" messages and "Benefit" messages (Win – Win Strategy).     
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.230
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การจัดเก็บภาษี
dc.subject การอุทธรณ์ภาษีอากร
dc.subject Tax collection
dc.subject Tax protests and appeals
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การศึกษาทฤษฎีผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ กรณีการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร
dc.title.alternative Nudge theory and study for enhancing effectiveness of taxation on on-site post-clearance audit by post clearance audit division of Thai customs department
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword ทฤษฎีผลักดัน
dc.subject.keyword กรมศุลกากร
dc.subject.keyword การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ
dc.subject.keyword พฤติกรรมการเสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ
dc.subject.keyword Nudge Theory
dc.subject.keyword Thai Customs Department
dc.subject.keyword On-site Post-Clearance Audit
dc.subject.keyword Behavior on Taxation of Entrepreneurs
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.230


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record