DSpace Repository

การเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค

Show simple item record

dc.contributor.advisor วันชัย มีชาติ
dc.contributor.author ธนพร ทองขาว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:06:06Z
dc.date.available 2020-11-11T14:06:06Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70434
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์การ การบริหารจัดการที่อยู่อาศัย ตลอดจนแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐหลักที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำอาคารสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จำนวน 3 ท่าน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคจำนวน 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า จากเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุทั้งสองแห่งนั้น มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิสัยทัศน์ ค่านิยม การจัดโครงสร้างองค์การ การวางแผนและการดำเนินงาน และการบริหารทรัพยากรทางกายภาพ ในขณะที่ทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันในเรื่อง หน่วยงานที่สังกัด การสนับสนุนงบประมาณ การบริหารทรัพยากรบุคคล อัตราค่าบริการ และกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐนั้น มีเพียงศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคที่ได้รับการส่งเสริมทั้งในมิติด้านการเงิน การอบรมพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ และนวัตกรรมผู้สูงอายุ สำหรับการจัดที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุโดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนั้น มีลักษณะให้ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในที่เดิมภายใต้การดูแลของครอบครัว และมีการสร้าง Senior Complex ที่มีบริการครบวงจรเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้ชีวิตในชุมชน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาครัฐยังไม่มีแนวทางส่งเสริมการจัดบริการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุของภาคเอกชนหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the characteristics of elderly housing management in terms of organization management, housing management and guidelines for supporting and promoting the arrangement of housing for the elderly of the relevant government agencies. Researcher used qualitative research methods by collecting data from documents and in-depth interviews. The key informants were 3 executives and staff from the Sawangkanives Project, The Thai Red Cross Society and 4 executives and staff from Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons. The study found that from the criteria used to compare the characteristics of the management of housing for the elderly in both places there are similarities in terms of vision, values, organizational structure, planning and operations, and physical resource management. While the differences between the two are the affiliated agencies, budget support, human resource management, service rates, and target groups. In terms of promotion and support from government agencies; Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons will be supported in both financial dimensions, training for personnel development, knowledge, and innovation for the elderly. The concepts for housing arrangements for the elderly by relevant government agencies were set for the elderly to live in the same place under the supervision of family and there will be Senior Complex providing comprehensive services to support the elderly who want to live in the community. However, at present, the government has not had guidelines yet to promote the provision of private or non-profit organizations housing services for the elderly.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.267
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject สวางคนิเวศ
dc.subject ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย
dc.subject บ้านพักคนชรา -- การบริหาร
dc.subject Older people -- Dwellings
dc.subject Old age homes -- Administration
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
dc.title.alternative Comparison of elderly housing management case study: Sawangkanives Project, The Thai Red Cross Society and Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Wanchai.Me@Chula.ac.th
dc.subject.keyword ที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ
dc.subject.keyword การบริหารจัดการองค์การ
dc.subject.keyword การบริหารจัดการที่อยู่อาศัย
dc.subject.keyword ผู้สูงอายุ
dc.subject.keyword elderly
dc.subject.keyword housing management
dc.subject.keyword elderly housing management
dc.subject.keyword Sawangkanives Project
dc.subject.keyword Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.267


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record