DSpace Repository

ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor วันชัย มีชาติ
dc.contributor.author อวิกา โหละสุต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:06:49Z
dc.date.available 2020-11-11T14:06:49Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70477
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า โดยทำการศึกษาวัฒนธรรม 3 ระดับ ได้แก่ กองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยา และปัจเจกบุคคล รวมถึงศึกษาความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล โดยอาศัยทฤษฎีแบบแผนวัฒนธรรมที่เหมาะสมของ ชาร์ลส์ แฮนดี เป็นฐานในการศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (แบบสอบถาม) จำนวน 135 คน ควบคู่กับการใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) จำนวน 7 คน โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมของชาร์ลส์ แฮนดี และใช้สถิติทดสอบ Nonparametric แบบ Wilcoxon (Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) ในการหาความสอดคล้องของวัฒนธรรม สำหรับความแตกต่างด้านชั้นยศพบว่าไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการและลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก และสถาบันพยาธิวิทยาเป็นแบบเน้นบทบาท (อพอลโล) ส่วนรูปแบบวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลเป็นแบบเน้นงาน(ดิออนีซุส) ดังนั้นรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบกและสถาบันพยาธิวิทยามีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่สำหรับรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยาและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลในภาพรวมไม่สอดคล้องกัน เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มวิชาชีพพบว่ากลุ่มวิชาชีพแพทย์/พยาบาลและกลุ่มสนับสนุนทางการแพทย์มีรูปแบบวัฒนธรรมแบบเน้นงาน ส่วนกลุ่มสนับสนุนทางธุรการเป็นแบบเน้นบทบาท สำหรับชั้นยศที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา
dc.description.abstractalternative This study is aimed to study organizational culture and individual perceived culture of Army Institute of Pathology (AIP), Phramongkutklao Medical Center by exploring 3 cultures include Royal Thai Army, AIP and individual perception also study about congruence between organizational and individual culture according to Charles Handy’s theory, The Theory of Cultural Propriety. The researcher then conducted a quantitative research, field survey, from 135 cases were included as a sample and a qualitative research, depth interviewing, 7 cases were drawn from AIP using simple random sampling method. Data was analyzed using The Theory of Cultural Propriety by Charles Handy and Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test was used for cultural congruence.The finding indicated that Royal Thai Army and Army Institute of Pathology culture are the Role culture (Apollo) and individual culture is the Task culture (Athena) which mean Royal Thai Army and AIP perceived culture are congruence statistically significant at 0.05 but Royal Thai Army, AIP and individual perceived culture are not congruence. When separated by professional groups, found that Medical profession and Medical support perceived culture is the Task culture. For Administration support group culture is the Role. In the other hand, there is no difference of perceived culture in each rank.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.258
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject วัฒนธรรมองค์การ
dc.subject Corporate culture
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
dc.title.alternative Congruence between perceived of organizational and individual culture : the exploratory case studies of Army Institute of Pathology, Phramongkutklao Medical Center
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Wanchai.Me@Chula.ac.th
dc.subject.keyword วัฒนธรรมองค์การ
dc.subject.keyword วัฒนธรรมปัจเจกบุคคล
dc.subject.keyword ทฤษฎีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่เหมาะสม
dc.subject.keyword organizational culture
dc.subject.keyword individual perceived culture
dc.subject.keyword theory of cultural propriety
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.258


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record