DSpace Repository

ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานราชการสังกัดกรมศุลกากร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปกรณ์ ศิริประกอบ
dc.contributor.author อิทธิพงษ์ อินทยุง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T14:06:52Z
dc.date.available 2020-11-11T14:06:52Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70480
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทำให้ทราบถึงปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานราชการกรมศุลกากรที่ส่งผลต่อความผูกพันที่มีต่อองค์กร (2) เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานราชการกรมศุลกากร การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานราชการสังกัดกรมศุลกากรจำนวน 261 คน มีการประมวลผลวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) T-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression) ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. เพศของพนักงานราชการที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน ระดับเงินเดือนของพนักงานราชการที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน 2. ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานในด้านลักษณะงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง ด้านลักษณะงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวม และด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ในขณะที่ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ด้านการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี ด้านลักษณะงานที่มีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคมของผู้ปฏิบัติงาน และด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม ไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร  
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were (1) to identify personal factors and quality of work life factors of government employees of Thai Customs Department affecting employee engagement. (2) to apply the study results obtained as a guideline of developing quality of work life onwards. This research used a questionnaire as a data collection tool. The sample were a total of 261 government employees of Thai Customs Department. The analysis results were evaluated by using statistics including frequency, percentage, T-test, F-test and regression analysis. The research results can be summarized as follows. 1. The different gender of government employees had an indifferent level of employee engagement. While the different age, marital status, educational level, working period and salary level of government employees had different levels of employee engagement. 2. Social interaction works, works promoting development and stability to employees, work-life balance and reasonable compensation affected employee engagement. While hygiene and secure environment, giving opportunity to employees for improving their abilities, works that promote social integration, and works relating to law and judgement did not affect employee engagement.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.265
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ
dc.subject Quality of work life
dc.subject Organizational commitment
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานราชการสังกัดกรมศุลกากร
dc.title.alternative Quality of work life factors affecting employee engagement : a case study of government employees of Thai Customs Department
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Prakorn.S@Chula.ac.th
dc.subject.keyword ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน
dc.subject.keyword ปัจจัยส่วนบุคคล
dc.subject.keyword ความผูกพันต่อองค์กร
dc.subject.keyword quality of work life factors
dc.subject.keyword personal factors
dc.subject.keyword employee engagement
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.265


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record