dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่ององค์กรสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาด ขอบเขต การจ้างงาน สถานภาพทางการเงินและทางกฎหมาย ความเป็นมา บทบาทและคุณลักษณะที่เด่นชัดขององค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อหาลู่ทางเพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการสร้างเครือข่าย สร้างกระบวนการรับรู้ และชี้ให้ภาครัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนสาธารณชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของภาคสาธารณประโยชน์ รวมทั้งนำเสนอข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลขององค์กรสาธารณประโยชน์ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา การทำหน้าที่ขององค์กรสาธารณประโยชน์เปลี่ยนรูปแบบและบทบาทจากการทำหน้าที่เป็นองค์กรการกุศลและให้บริการสังคม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบาลเผด็จการทหาร มาเป็นองค์กรมุ่งหาความหมายและคำตอบของการพัฒนา และปฏิบัติการการพัฒนาในช่วง พ.ศ. 2516-2535 จากปฏิบัติการการพัฒนาที่พบว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านและชุมชน เนื้องานจึงปรับจากการให้สวัสดิการแก่ผู้เดือดร้อนยากไร้ในลักษณะที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นกลุ่มเป้าหมายมาเป็นการพัฒนาสังคมและชุมชนแบบองค์รวมให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิของผู้ยากไร้เพิ่มเติมจากเรื่องสวัสดิการที่แต่ละกลุ่มพึงได้รับในการทำงานด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย สังคมสงเคราะห์ ฯลฯ เกิดการปรับเพิ่มหรือทำงานด้านการพัฒนาสังคมทั้งหมด แม้ว่าจะเริ่มจากการทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เกิดความเชื่อในการเคลื่อนไหวทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดสังคมที่ดีขึ้น มีการสร้างเครือข่ายของคณะองค์กรที่ทำงานด้านต่าง ๆ และการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันประเด็นปัญหาเพื่อเป้าหมายของการแก้ปัญหาในประเด็นนั้น ๆ รวมทั้งสร้างพลังร่วมกันเพื่อการพัฒนาสังคมไทยโดยรวม การเคลื่อนตัวในช่วง พ.ศ. 2535 และหลังจากนั้น เน้นในการเคลื่อนตัวผลักดันประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และกระบวนการเรียกร้องและร่างรัฐธรรมนูญ และการติดตามกระบวนการโลกาภิวัตน์ของมหาอำนาจและทุนข้ามชาติ ประเด็นการเคลื่อนไหวเป็นการชี้ให้เห็นภัยจากอำนาจเหนือรัฐ นอกเหนือจากอำนาจของรัฐ อำนาจเหนือรัฐที่เป็นเป้าหมายของการรณรงค์คืออำนาจทุนข้ามชาติในรูปของบริษัทข้ามชาติและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ คือ ธนาคารโลก องค์กรการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย วิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน พ.ศ. 2540 ซึ่งเริ่มในประเทศไทยย้ำให้เห็นชัดเจนว่าองค์กรสาธารณประโยชน์จำเป็นจะต้องผนึกพลังกันทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจและป้องกันไม่ให้อำนาจเหนือรัฐเข้ามามีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนาประเทศของแต่ละประเทศ ในเชิงปริมาณ งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาองค์กรที่ปรากฏในทำเนียบองค์กรที่ขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมและมูลนิธิกับสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2540 มี 8,406 สมาคมและมูลนิธิที่จดทะเบียนและ 497 องค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน รวมทั้งหมด 8,903 องค์กร รายชื่อองค์กรไม่จดทะเบียนรวบรวมจากทำเนียบต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดทำขึ้น คณะวิจัยแยกกิจกรรมขององค์กรเหล่านี้เป็น 11 ด้าน คือ วัฒนธรรมและสันทนาการ การศึกษาและวิจัย สุขภาพอนามัย บริการสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาชนบทและเมือง กฎหมาย การรณรงค์ และการเมือง องค์กรการกุศลและให้ทุน กิจกรรมระหว่างประเทศ ศาสนา และองค์กรวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า เกิดการจ้างงานประมาณปีละ 70,000 คน อาสาสมัครปีละประมาณ 85,000 คน การใช้จ่ายขององค์กรประมาณปีละ 12,000-16,000 ล้านบาท และรายรับขององค์กรทั้งหมดประมาณปีละ 24,000 ล้านบาท การคำนวณตัวเลขเหล่านี้ใช้ค่าประมาณจากการสำรวจองค์กรสังคมสงเคราะห์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2540 และการสำรวจเพิ่มเติมของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉพาะองค์กรที่มีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในปี พ.ศ. 2542 รวมทั้งรายงานสำรวจกลุ่มองค์กรเฉพาะด้านที่มีผู้ดำเนินการและจัดทำรายงานไว้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการพยายามศึกษาภาพรวมขององค์กรสาธารณประโยชน์ทั้งหมดในทุก ๆ ด้านที่มีคุณลักษณะเป็นองค์กรที่ (1) ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์ (2) ดำเนินงานอย่างเอกเทศ (3) ไม่แสวงหากำไรและไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์แก่สมาชิก (4) ไม่ใช่องค์กรรัฐ (5) ไม่ใช่องค์กรศาสนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศาสนาอย่างเดียว (6) ไม่ใช่องค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเมือง (7) ไม่รวมสหภาพ แรงงาน และ (8) ไม่รวมองค์กรประชาชนท้องถิ่น |
en |
dc.description.abstractalternative |
The project titled "Public Interest Organizations in Thailand" has the objectives to trace historical development, identify outstanding characteristics, size, scope, structure, financial and legal status, and potential roles of public interest organizations. Data base formulated and information documented in this report will be made available to government, private, and people's sectors. The aim is to provide support for capacity building and networking possibilities to enable the organizations to function in ways which will most benefit Thai society as a whole. During the past 50 years, public interest organization have changed their roles and functions from mostly providing social services during the period after World War II and during the military regimes to organizations seeking development solutions and practices during 1973-1992. Activities during these two decades shifted from social services to community-based development. Focus of activities also shifted from individuals and target group approach to holistic community development approach. Many organizations expanded the scope of their work from single sector to multi-sector ad integrated development. Later on, organizations working in the same area formed networks and became social movements advocating issues of rights to development as well as basic rights for certain disadvantaged groups. After the May incident in 1992 social movements for democracy and people's participation became very much evident. Demand for a new constitution lead to a very participatory constitution drafting process with basic rights and people's participation as the main theme of the constitution. The 1997 economic and financial crisis further support antiglobalization movement believed to be one of the main causes of crisis. Negative impacts of capitalism and globalization together with roles of supra-national organizations, especially the international financial institutions, became issues which Thai public-interest organizations join hands with transnational organizations to have their resisting voices heard. Resistance to globalization and economic development became evident in the form of protest against construction of large infrastructure mega projects during the past few years. In quantitative terms, this research analyzed data of associations and foundations registered with the Office of National Cultural Commission published in the 1997 directory of the Commission. The National Statistical Office 1997 survey also used the National Cultural Commission directory as their frame to design the survey. List of non-registered organization were made by CUSRI from various directories available. A survey of active organizations was carried out by CUSRI to provide more in-depth information. The total number of organizations reported in this study covers 8406 registered associations and foundations, 497 non-registered organizations, giving the total number of 8903 organizations. The organizations are further classified into 11 groups based on the International Classification of Non-Profit Organizations. They are: culture and recreation; education and research; health; social service; environment; urban and rural development; advocacy, legal and politics; philanthropy and financial support; international activities; religion; and professional and vocational groups. The findings suggest that public-interest organizations can generate approximately 70,000 employment and 85,000 volunteers per year. Expenditure is 12,000-16,000 million baht while income is 24,000 million baht per year. These figures are calculated based on estimates of NSO and CUSRI surveys as well as survey reports available from other sources. In this report, public-interest organizations are identified as those with the following characteristics: (1) organizations whose activities are for public interest, (2) autonomous, (3) non-profit and non-profit sharing, (4) non-government, (5) non-religious propagation, (6) non-political and non-political party, (7) non labor union, and (8) not people's organizations. |
en |