Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นชายไทย โดยมีสมมติฐานการศึกษา 11 ข้อ ได้แก่ (1) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสรางภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (2) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสรางภาพลักษณ์ ทางร่างกายในอุดมคติ (3) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (4) ครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (5) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (6) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (7) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความพึ่งพอใจ ภาพลักษณ์ทางร่างกาย (8) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (9) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความพึ่งพอใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (10) ความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย ส่งผลให้เกิดการจัดการกับร่างกาย และ (11) ในกลุ่มชายแท้ (Heterosexual) ชายรักร่วมเพศ (Homosexual) มีวิธีการจัดการกับร่างกายที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้ใดใช้การผสมผสาน ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณใดจากแบบสอบถามที่ให้นิสิตชายระดับปริญญาดรของจุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน การบรรยายลักษณะทางประชากรใดัใช้สถิติ อันได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นได้ใช้ค่าสถิติ Chi-square ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (2) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (3) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (4) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (5) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (6) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (7) ครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย (8) กลุ่มเพื่อน ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย (9) สื่อมวลชน ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งในประเด็นดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้ 2520 ได้ใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยอาศัยเทคนิคการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คนที่ได้เข้าร่วมในการตอบแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชายแก่ (Heterosexual) และกลุ่มชายรักร่วมเพศ (Homosexual) จากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า (10) นิสิตชายเมื่อเกิดความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายจะเกิดการจัดการกับร่างกาย (11) ในกลุ่มชายแท้ (Heterosexual) ชายรักร่วมเพศ (Homosexual) จะมีเกิดการจัดการกับร่างกายที่แตกต่างกันไป