Abstract:
วัตถุประสงค์แรกของวิทยานิพนธ์นี้คือ เพื่อค้นหาสาเหตุ ที่ผลักดันให้เด็กเร่ร่อน ละทิ้งครอบครัวของพวกเขาและมาใช้ชีวิตในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) วัตถุประสงค์ที่สองเพื่อศึกษาสภาพชีวิตและโลกทัศน์ของเด็ก และวัตถุประสงค์ที่สาม เพื่อแสวงหาวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการสถานการณ์ของเด็กเร่ร่อน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาในการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของเด็กชายจำนวน 10 คนอายุระหว่าง 7 ปีบริบูรณ์-18 ปีบริบูรณ์ ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ทั้งสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและสภาพแวดล้อมทางสังคมมีแรงเกี่ยวพันซึ่งจะผลักดันให้เด็กละทิ้งครอบครัวของพวกเขา หลังจากพวกเด็กละทิ้งบ้าน วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของพวกเด็กส่วนใหญ่จะถูกขัดเกลาโดยกลุ่มเพื่อน พวกเด็กต้องเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตโดยการหาของขาย หาของที่ทิ้งจากรถไฟมากินและในบางกรณีก็ขายบริการทางเพศ พวกเขามองตัวพวกเขาเองว่าก็เหมือนคนกลุ่มอื่นๆ ที่มีทั้งคนดีและคนไม่ดี พวกเขามีความเห็นว่าเด็กเร่ร่อนไม่ใช่ผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน หรือผู้ก่อความยุ่งยาก ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบอีกว่า โครงการอย่างไม่เป็นทางการที่ริเริ่มโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งตำรวจรถไฟได้ทำตัวเป็นครู หรือคนแนะนำให้การปรึกษาสำหรับเด็กเร่ร่อนในบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพงพิสูจน์ได้ว่าเป็นวิธีหนึ่ง ที่ได้จัดการเกี่ยวกับปัญหาเด็กเร่ร่อนอย่างได้ผล