DSpace Repository

การวิเคราะห์ปรัชญาพลศึกษาตามแนวพุทธศาสนา

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนี ขวัญบุญจัน
dc.contributor.advisor วรศักดิ์ เพียรชอบ
dc.contributor.advisor สมภาร พรมทา
dc.contributor.author พราม อินพรม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-17T09:09:43Z
dc.date.available 2020-11-17T09:09:43Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741312172
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70817
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอาสาร ตามวิธีวิจัยเชิงพรรณา วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา วิเคราะห์ปรัชญาพลศึกษาตามแนวพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาพลศึกษามีลักษณะและทิศทางเป็นไปในแนวเดียวกันกับหลักการของพุทธศาสนา กล่าวคือ พุทธศาสนาต้องการพัฒนาคนให้เจริญ โดยพัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา เช่นเดียวกับพลศึกษาที่มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญา ในด้านแนวนโยบายหรือหลักสูตรพลศึกษามีความสอดคล้องกับไตรสิกขาทางพุทธศาสนากล่าวคือ การกำหนดกิจกรรมต่างๆ ในเนื้อหาหลักสูตรพลศึกษาก็เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายทางด้านร่างกาย และพัฒนาทางด้านสังคม สอดคล้องกับการพัฒนาศีลในหลักไตรสิกขา กิจกรรมที่พัฒนาด้านจิตใจทางพลศึกษา สอดคล้องกับการพัฒนาสมาธิในหลักไตรสิกขา และกิจกรรมที่พัฒนาด้านสติปัญญาทางพลศึกษา สอดคล้องกับการพัฒนาปัญญาในหลักไตรสิกขา ในด้านการสอนพลศึกษามีความสอดคล้องกับพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ คุณสมบัติผู้สอนต้องมีบุคลิกภาพที่ดีและมีคุณธรรม หลักทั่วไปในการสอน ผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อมของผู้เรียน ให้ผู้เรียนและผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ส่วนหลักในการสอนนั้นความมุ่งหมายต้องครอบคลุมทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ในหัวข้อบริบทแวดล้อมนั้นความเป็นกัลยาณมิตรของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องและบรรยากาศที่ดี จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยดี ส่วนการประเมินผลนั้นประเมินตามความมุ่งหมายคือทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา
dc.description.abstractalternative This research was designed to be a documental and descriptive study. It's purpose was to analyze the physical education in accordance with buddhism approach. Through documental analysis, it was found that: Physical education philosophy was in the direction and in accordance with Buddhism approach. Buddhism approach aimed at physical, moral, emotional and intellectual development; while, physical education was also aimed at physical, mental, emotional, social and intellectual development. In terms of the curriculum, physical education curriculum was in accordance with the threefold training of buddhism. Various activities assigned in the curriculum aimed at physical and social development as well as those assigned to moral development in the threefold training. Physical education activities which assigned to mental development was in accordance with the concentration in the threefold training, and physical education activities which assigned for intellectual development was also in accordance with intellectual development in the threefold training. In terms of instructional process, physical education instructional process was in accordance with buddhism approach in the following aspects; namely, the instructor should possess a good personality and well character, to be able to understand the difference among the students readiness, and to let the students to take part in the process of teaching. For the teaching objectives it should cover physical, mental, social and intellectual development. Good friendship and good atmosphere would also contribute to the success of teaching. For the purpose of the evaluation it should cover all areas of physical, mental, social and intellectual development.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject พลศึกษา -- ปรัชญา
dc.subject พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
dc.subject พุทธศาสนา
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.title การวิเคราะห์ปรัชญาพลศึกษาตามแนวพุทธศาสนา
dc.title.alternative An analysis of physical education philosophy in accordance with buddhism approach
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline พลศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record