DSpace Repository

การเปิดเผยตนเองและความชอบพอคู่สนทนาทางอินเทอร์เน็ต ของนิสิตนักศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor คัคนางค์ มณีศรี
dc.contributor.author วิรัญญา ชาญวิชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-11-24T02:47:24Z
dc.date.available 2020-11-24T02:47:24Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743467874
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70929
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยตนเองกับระดับความชอบพอคู่สนทนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการเปิดเผยตนเองระหว่างคู่สนทนาเพศเดียวกันและระหว่างคู่สนทนาต่างเพศของนิสิตนักศึกษา ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คนตอบมาตรวัด 3 ฉบับได้แก่ มาตรวัดระดับการเปิดเผยตนเองของกลุ่มตัวอย่าง มาตรวัดระดับการเปิดเผยตนเองของคู่สนทนาตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างและมาตรวัดระดับความชอบพอที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อคู่สนทนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการเปิดเผยตนเองของนิสิตนักศึกษามีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อดู่สนทนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<.001 ) 2. ระดับการเปิดเผยตนเองของคู่สนทนาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษามีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อคู่สนทนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 ) 3. สหสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยตนเองที่นิสิตนักศึกษาเปิดเผยต่อคู่สนทนาของตนกับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อคู่สนทนาของตนมีค่าไม่แตกต่างจากสหสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยตนเองที่คู่สนทนาเปิดเผยต่อนิสิตนักศึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษากับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อคู่สนทนา 4. ในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาที่เป็นเพศเดียวกัน ระดับการเปิดเผยตนเองของนิสิตนักศึกษาหญิงและนิสิตนักศึกษาชายไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาต่างเพศกัน ระดับการเปิดเผยตนเองของนิสิตนักศึกษาหญิงและนิสิตนักศึกษาชายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่านิสิตนักศึกษาชายมีระดับการเปิดเผยตนเองสูงกว่านิสิตนักศึกษาหญิง
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study relationships among the level of self-disclosure and the level of liking for the Internet conversation partners and to study the self-disclosure differences in same-sex conversation and in opposite-sex conversation of university students. Three measures: the subjects' self-disclosure scale, the perceived partners’ self-disclosure scale and the liking scale were given to 300 university students. Results show that: 1. The level of students’ self-disclosure correlates positively with the level of liking for the Internet conversation partner in a linear fashion (p<.001). 2. The level of partners’ self-disclosure correlates positively with the level of liking for the Internet conversation partner in a linear fashion (p<.001). 3. The correlation between the level of students’ self-disclosure and the level of liking for the partners does not differ significantly from the correlation between the level of perceived partners’ self-disclosure and the level of liking for the partners. 4. There is no significant difference between females’ and males' self-disclosure level in same-sex conversation partners. 5. There is a significant difference between females’ and males’ self-disclosure level in opposite-sex conversation; that is, males disclose more than females.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อินเทอร์เน็ต
dc.subject การเปิดเผยตนเอง
dc.title การเปิดเผยตนเองและความชอบพอคู่สนทนาทางอินเทอร์เน็ต ของนิสิตนักศึกษา
dc.title.alternative University students' self-disclosure and liking for the Internet conversation partners
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record