Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสถานภาพ และปัญหาที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพี่อเปรียบเทียบกับที่พักอาศัยให้เช่าของเอกชนบริเวณรอบมหาวิทยาลัย เพี่อเสนอแนะแนวทางในการจัดหาที่พักอาลัยให้แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ และการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 356 ตัวอย่าง ประกอบด้วยนิสิตที่พักอาศัยในมหาวิทยาลัย จำนวน 214 ตัวอย่าง และที่พักอาศัยบริเวณรอบมหาวิทยาลัย จำนวน 142 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ผลการวิจัยพบว่า นิสิตที่พักในหอพักมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 93.9) มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด เช่นเดียวกับนิสิตที่เช่าพักบริเวณรอบมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74.6) การสำรวจค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ไม่รวมค่าที่พัก) ของนิสิตพบว่านิสิตที่พักในหอพักมหาวิทยาลัยใช้จ่ายต่อเดือนตํ่ากว่านิสิตที่เช่าพักบริเวณรอบมหาวิทยาลัย กล่าวคือ นิสิตที่พักในมหาวิทยาลัย กลุ่มใหญ่ที่สุด (ร้อยละ 34.6) มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนในช่วง 2,000-3,000 บาท เปรียบกับกลุ่มใหญ่ที่สุด (ร้อยละ 41.6) ของนิสิตที่เช่าพักบริเวณรอบมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ในช่วง 3,001-4,000 บาท ด้านปัญหาการพักอาศัยของนิสิตที่พักในมหาวิทยาลัยกับนิสิตที่เช่าพักบริเวณรอบมหาวิทยาลัยนั้น พบว่ามีความแตกต่างกัน กล่าวคือ นิสิตที่พักหอพักมหาวิทยาลัย เห็นว่าสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ เช่น โทรศัพท์ต้องใช้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเลข หมายโทรศัพท์ภายในไม่เพียงพอ ส่วนนิสิตที่เช่าพักรอบมหาวิทยาลัยมีความเห็นว่าปัญหาสำคัญคือ ปัญหาด้านขาดความปลอดภัยในการพักอาศัย ด้านเหตุผลในการเลือกที่พักอาศัยนั้นก็มีความแตกต่างกัน คือนิสิตที่พักในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เลือกอยู่หอพักจุฬาฯ เพราะ เห็นว่าเดินทางสะดวกใกล้ที่เรียน ส่วนนิสิตที่เลือกพักบริเวณรอบมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เลือกอยู่นอก
มหาวิทยาลัยเพราะเห็นว่ามีความสะดวกและมีความเป็นอิสระส่วนตัวมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่านิสิตหญิงให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยมากกว่านิสิตชายด้านความสามารถในการจ่ายค่าที่พักอาศัยในอนาคตนั้นพบว่าทั้ง 2 กลุ่ม ตอบเหมือนกัน คือประมาณ 1,000-2,000 บาท ต่อเดือน ข้อเสนอในการแก้ปัญหาที่พักอาศัยสำหรับมหาวิทยาลัยควรจัดให้มีที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของนิสิตในส่วนที่มีความเดือดร้อนและจำเป็นด้านที่พักอาศัย ทั้งนี้ต้องกำหนดเกณฑ์ในการรับ โดยพิจารณาจากภูมิลำเนา ชั้นปีที่ศึกษาประกอบกับรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองเป็นหลัก สำหรับแนวทางในการจัดหาที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นนี้สามารถดำเนินการไต้ 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1. โครงการจัดสร้างหอพักในจุฬาฯ แนวทางที่ 2. โครงการปรับปรุงตึกแถวบริเวณสวนหลวงซึ่งมหาวิทยาลัยกำลังทำการศึกษาความเป็นไปได้ให้เป็นที่พักอาศัยให้เช่าหรือ แนวทางที่ 3 โครงการจัดหาที่พักอาศัยให้เช่าของเอกชนบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย สำหรับการลงทุนในแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 อาจพิจารณาได้ 2 วิธี คือ วิธีแรกมหาวิทยาลัยเป็นผู้ลงทุนเอง ซึ่งคงทำได้ลำบากในสถานการณ์เศรษฐกิจตกตํ่าขณะนี้กับวิธีที่สองซึ่งอาจมีความเป็นได้มากกว่า คือ การเชิญให้ผู้ลงทุนเอกชนมาลงทุนโดยมหาวิทยาลัยมีข้อเสนอสิทธิประโยซน์ที่เหมาะสมสำหรับแนวทางที่ 3 มหาวิทยาลัยน่าจะพิจารณาติดต่อเจ้าของหอพักเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการจัดที่พักให้นิสิตของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยจะจัดส่งนิสิตที่รอการรับสมัครหรือพลาดจากการสมัครเข้าอยู่หอพักจุฬาฯ ให้ ทั้งนี้โดยมหาวิทยาลัยต้องกำหนดและควบคุมเงื่อนไขด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และขอบเขตราคาค่าเช่าที่เหมาะสม