Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประเด็น ประเด็นหลักคือ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในการ วิเคราะห์พฤติกรรมและบุคลิกภาพของสการ์เลตต์โอฮารา(Scarlett O’Hara) มีหลากหลายวิธี จิตวิทยาเป็นทางหนึ่งที่ลามารถใช้วิเคราะห์พฤติกรรมและบุคลิกภาพของเธอได้อย่างมีเหตุผล ประเด็นที่ลองคือ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์บางช่วงในชีวิตของ สการ์เลตต์คือชีวิตจริงของผู้เขียนในบางส่วน ด้วยการศึกษาตัวบทนวนิยายเรื่องวิมานลอยกับอัตชีวประวัติของ มาร์กาเร็ต มิตเซลล์ (Margaret Mitchell) ผู้เขียน ผลของการศึกษาวิเคราะห์พบว่า การใช้ทฤษฎีที่แตกต่างในการวิเคราะห์พฤติกรรมหรือ อุปนิสัยของตัวละครสการ์เลตต์ โอฮารา ทำให้ได้ผลของการติความแตกต่างกัน การใช้ทฤษฎีจิต วิเคราะห์ของฟรอย (Freud) จะแสดงให้เห็นว่าสการ์เลตต์เป็นคนที่ทำทุกอย่างเพื่อตัวเธอเอง บุคลิกภาพส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดย Ego ซึ่งมักจะมุ่งสนองแต่ความปรารถนาของ Id และสัญ ชาตญาณ ซึ่งผู้อ่านจะได้ภาพของตัวละครที่มีความสมจริง เมื่อใช้ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ของจุง (Jung) วิเคราะห์พฤติกรรมของเธอ จะได้คำตอบที่แตกต่าง กล่าวคือ สิ่งที่เธอทำไปเป็นผลจากจิตไร้สำนึกร่วมที่บรรจุหลักแบบฉบับ (Archetypes) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของประสบการณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งอดีตที่เรียกว่า ความรักในผืนแผ่นดินซึ่งมีความเข้มข้นสูงในตัวเธอ ผู้อ่านจะได้ภาพของตัวละครในแบบที่อยู่ในตำนานมากกว่าจะเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญนอกจากนี้ พฤติกรรมที่หลากหลายของเธอยังสามารถตีความได้โดยใช้หลักแบบฉบับที่มีอยู่มากมายซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นสากลของมนุษยชาติ และการใช้ทฤษฎีลำดับขั้นของแรงจูงใจ (Hierarchical Theory of Motivation) ของมาสโลว์ (Maslow) จะทำให้ตีความพฤติกรรมของสการ์เลตต์ได้ในอีกแนวหนึ่ง กล่าวคือ จะทำให้ผู้อ่านมองว่าสการ์เลตต์นั้นก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องทำทุกสิ่งเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด อันเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์และหลังจากนั้นเธอก็จะมีพฤติกรรมเป็นไปตามลำดับของความต้องการในขั้นต่อๆไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถเห็นได้ในชีวิตจริงเช่นกัน