Abstract:
โรค cryptosporidiosis เป็นโรคติดเชื้อจากโปรโตซัวชนิดหนึ่งในกลุ่มคอคซิเดีย ใน genus Cryptosporidium ซึ่งพบการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะในผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ในปัจจุบันมีการจำแนกสปีชีส์ ของเชื้อ Cryptosporidium ได้ 10 สปีชีส์โดยอาศัยคุณลักษณะความจำเพาะของโฮสต์รูปร่าง ลักษณะของโอโอชีสต์ ตำแหน่งของการติดเชื้อ และการวิเคราะห์ทางอณูชีววิทยา เนื่องจากในปัจจุบันไม่มียาชนิดใดที่ให้ผลในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นการป้องกันและการควบคุมการแพร่กระจายของโรคจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ปัจจุบันการศึกษาสปีชีส์ ของเชื้อ Cryptosporidium ในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวียังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นจึงได้ทำการวิเคราะห์ Cryptosporidium จำนวน 30 ตัวอย่างจากอุจจาระของผู้ป่วยเอชไอวี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างปี ค.ศ.1966 ถึง ค.ศ. 2000 ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการท้องเสียเรื้อรัง และมีปริมาณลิ้มโฟไซต์ชนิด CD4+ ตํ่า (ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 121.07 ± 152.39) การทำให้ดีเอ็นเอบริสุทธิ์โดยการย่อยด้วยโปรตีนเนสเค และการสกัดโปรตีนส่วนเกินออกโดย ฟีนอล/คลอโรฟอร์ม หลังจากการทำให้โอโอซีสต์เข้มข้นขึ้นโดย การลอยตัวในสารละลายนํ้าตาลแล้วทำการเพิ่มปริมาณในส่วนของยีน small subunit ribosomal ribonucleic acid (SSU rRNA) โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพสิเมอร์เรส ซึ่งครอบคลุมความยาว 670 คู่เบส การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ โดยการวิเคราะห์จาก 2 ทิศทาง ผลการศึกษาพบ Cryptosporidium ทังสิน 4 สปีชีลัได้แก่ C. parvum (human genotype) มี จำนวน 25 ราย C. meleagridis 3 ราย c. muris 1 ราย และ c. felis 1 ราย โอโอซีสต์ ของ c. muris และ C. parvum ไม่มีความแตกต่างจากการวัดความกว้างและความยาว อย่างไรก็ตาม โอโอซีสต์ของ C. muris มีขนาดใหญ่กว่า โอโอซีสต์ ของ Cryptosporidium species อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่ โอโอซีสต์ของ C. felis มีขนาดเล็กสุดเป็นที่น่าสังเกตว่าเชื้อ c. meleagridis และ C. murisพบในเด็กที่มีการติดเชื้อเอชไอวีส่วน C. parvum human genotype พบมากในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอซไอวีแสดงว่าการแพร่กระจายระหว่างคนนั้นมีความสำคัญ ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทยนอกจากนี้ในกลุ่มอายุที่แตกต่างกันจะพบการติดเชื้อจากสปีชีส์ที่ต่างกัน และ/หรือ จากแหล่งที่มาของเชื้อที่ต่างกัน