DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา ยูนิพันธุ์
dc.contributor.advisor จิราพร เกศพิชญวัฒนา
dc.contributor.author ศิริกุล จันพุ่ม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-03T06:41:11Z
dc.date.available 2020-12-03T06:41:11Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741313683
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71212
dc.description วิทยานิพนธ์(พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเพื่อศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 375 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลด้านปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และแบบวัดคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้เนื้อหาที่ วิเคราะห์จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยวิธีคำนวณสูตรแอลฟาของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตการทำงานด้านความพึงพอใจในงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความพึงพอใจในงานเฉพาะด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านลักษณะงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ด้านความผูกพันกับงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล มีเจตคติทางบวกน้อย 3. อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สถานภาพสมรสแต่งงานและอยู่ด้วยกัน การมีรายได้เหลือเก็บออม เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการมีรายได้เพียงพอมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษา สถานที่ปฏิบัติงาน และสถานภาพสมรสโสด ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน 4. กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ รายได้เหลือเก็บ เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลได้ ร้อยละ36.8 (R2 = .368 ) โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z = .345*เจตคติ +.355*การบริหาร + .111*รายได้ + .102*อายุ Z - .345* Z เจตคติ + .355* Z การบริหาร
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the relationships between personal factors, attitude toward nursing profession, and head nurses ' participative management with quality of working life of nurses in hospitals under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs and to search for the variables which could predict quality of working life of nurses. Research subjects consisted of 375 professional nurses which were selected by stratified random sampling technique. The research instruments was a questionnaire which was developed to measure personal factors, professional attitude, participative management, and quality of working life. The content of the quality of working life questionnaire was derived from the transcription of the indepth interviews of 10 experts. The instrument was tested for content validity and reliability. Statistical used in data analysis included mean, standard deviation, Pearson product moment and stepwise multiple regression analysis. Major findings were the followings ; 1. Quality of working life of professional nurses were at the middle level. 2. The professional nurses had positive attitude toward nursing performance at the low level. 3. There were positively significant relationships between age, working experience, marital status, income saving, participative management, attitude toward profession nursing, and the quality of working life of nurses, at the .05 level. On the other hand, income saving was negatively significant, at the .05 level. There was no relationships between level of education, working place, single status and the quality of working life of professional nurses. 4. The variables that could significantly predicted quality of working life of nurses at the .05 level 1 accounted for 36.80 (R2 = .3680) of the variance. The standardized score functions was Z = .345* ATT + .355* ADM + .111* INC1 + .102* AGE
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน
dc.subject พยาบาล
dc.subject การจัดการ -- การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง
dc.subject คุณภาพชีวิต
dc.subject การพยาบาล
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
dc.title.alternative Relationships between personal factors, attitude toward nursing profession, head nurses' participative management, and quality of working life of nurses in hospitals under the jurisdiction of the Ministry of University aAffairs
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการพยาบาล
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record