Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนิมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานด้านนาฏยศิลป์ของประทิน พวงสำลี ตลอดจน ค้นหารูปแบบและกลวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยประดิษฐ์ อันสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตามแบบของอาจารย์ประทิน จากการศึกษาวิจัยพบว่า อาจารย์ประทิน พวงสำลี ใด้สร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยประดิษฐ์ไว้มากมาย ซึ่งปรากฏผลงานตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2498 - จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ซึ่งสามารถรวบรวมได้ทั้งหมด 95 ชุดแบ่งเป็นประเภทได้ 7 ประเภทดังนี้ 1. ประเภทรำถวายพระพรและรำอวยพร 2. ประเภทเลียนแบนธรรมชาติของสัตว์ 3. ประเภทพันทาง 4. ประเภทเบ็ดเตล็ด 5. ประเภทศาลนาและความเชื่อ 6. ประเภทไม่มีบทร้อง 7. ประเภทที่มีเนื้อหาสอดแทรกข้อคิดและคติเตือนใจ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกศึกษาผลงานที่อาจารย์ประทินภาคภูมิใจมากที่สุดและเป็นผดงานที่ได้รับความนิยมเป็นกรณีศึกษา 3 ชุด ได้แก่ 1. ระบำยุดาหวัน 2. ระบำคำคมสมคะเน 3. ระบำทุยกะเอี้ยง จากการศึกษาวิจัยพบว่าอาจารย์ประทินมีกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยประดิษฐ์ โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะดังนี้ 1. สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้ทางด้านนาฏยศิลป์ที่ได้รํ่าเรียนมาประยุกตใช้ในการออกแบบท่ารำ 2. สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ประสบการณ์ในชีวิตซึ่งเกี่ยวข้องกับนาฏยศิลป์จากแหล่งต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ 3. สร้างสรรค์ผลงานโดยปรับให้เหมาะสมตามความสามารถของผู้แสดงแต่ละวัย 4. สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความสามารถด้านการประพันธ์และเลือกสรรค์เนื้อหาระบำสอดแทรกข้อคิดและคติเตือนใจ 5. สร้างสรรค์โดยปรับปรุงแต่งตามยุคสมัย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอาจารย์ประทิน พวงสำลีเป็นครูนาฏยศิลป์และนักนาฏยประดิษฐ์ที่มีบทบาทสำคัญอีกท่านหนี่งต่อวงการนาฏยศิลป์ไทย ผลงานทั้งหมดล้วนเป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานด้าน นาฏยศิลป์สืบไป