Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและหาช่วงความแตกตางของค่าระยะทางและมุม จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของโครงสร้างกระดูกและฟัน ระหว่างก่อนและหลังการจัดฟัน ในผู้ป่วยคนไทยที่มีโครงสร้างใบหน้าคลาสทรี ที่ได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันโดยไม่มีการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจงที่มีโครงสร้างใบหน้าคลาสทรี โดยจุด B อยู่หน้า จุด A มากกว่า 3 มม. จำนวน 34 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีการถอนฟัน 16 คน มีช่วงอายุที่เริ่ม ทำการรักษา คือ 11-30 ปี ช่วงอายุที่ทำการรักษาเสร็จคือ 16-32 ปี อายุเฉลี่ยที่เริ่มทำการรักษา คือ 18.07 + - 5.37 ปี และอายุเฉลี่ยที่ทำการรักษาเสร็จคือ 21.32 + - 4.74 ปี ส่วนกลุ่มที่มีการถอนฟัน 18 คน มีช่วงอายุที่ เริ่มทำการรักษาคือ คือ 12-32 ปี ช่วงอายุที่ทำการรักษาเสร็จคือ 16-34.3 ปี อายุเฉลี่ยที่เริ่มทำการรักษาคือ 22.97+-6.18 ปี และอายุเฉลี่ยที่ทำการรักษาเสร็จคือ 26.22+5.17 ปี และภายหลังการจัดฟันมีระยะเหลื่อม แนวราบและแนวดิ่งไม่น้อยกว่า 1 มม. โดยทำการวัดค่าตัวแปรต่างๆของโครงสร้างกระดูกและฟัน จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างก่อนและหลังการจัดฟัน หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ค่าตัวแปรต่างๆ ก่อนและหลังการจัดฟัน แล้วเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดังกล่าวในแต่ละกลุ่ม และหาช่วง ความแตกต่างของค่าตัวแปรต่างๆเมื่อทำการจัดฟันเสร็จเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างๆของ โครงสร้างกระดูกและฟันภายหลังการจัดฟัน ผลการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ระหว่างค่าเฉลี่ยของค่าระยะทางและมุม ก่อนและหลังการจัดฟันในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 สองกลุ่ม ได้แก่ ในกลุ่มที่ไม่ถอนฟัน พบว่า มีค่าตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างก่อนและหลังการจัดฟัน โดยมีค่าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ S-N, S-Ar, Wits appraisal, U1-APog, U6-PP, L6-MP, PP-Me, มุม U1/APog และ มุม ANB และค่าที่ลดลงได้แก่ L1-APog ในกลุ่มที่มีการถอนฟัน พบว่า มีค่าตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญ ระหว่างก่อนและหลังการจัดฟัน โดยมีค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ s-Ar, Wits appraisal และ N-PP และค่า ที่ลดลงได้แก่ L1-APog และมุม O1/Pog ส่วนของความแตกต่างของแต่ละตัวแปรในกลุ่มตัวอย่างมีทั้งค่า บวกและลบ ค่าเฉลี่ยที่ได้จะถูกหักลบกันบางส่วน ทำให้ค่าที่ได้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นตัวแทนของช่วง ความแตกต่าง