dc.contributor.advisor | ดวงใจ กสานติกุล | |
dc.contributor.author | สุพัทธา วงศ์จิระสวัสดิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | |
dc.date.accessioned | 2020-12-08T03:16:32Z | |
dc.date.available | 2020-12-08T03:16:32Z | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.identifier.isbn | 9743466339 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71367 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต ได้แก่ อายุจำนวนพรรษาที่บวช สถานภาพของสงฆ์ สถานภาพสมรสก่อนบวช การประกอบอาชีพก่อนบวช ระดับการศึกษาก่อนบวช ระดับการศึกษาทางธรรม ภูมิลำเนาเดิม เศรษฐานะก่อนบวช โรคทางกาย และการใช้ยาและสารเสพติดก่อนบวช ของพระภิกษุสงฆ์ใกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 900 รูป ซึ่งได้จากการสุ่มแบบ Multi - stage Cluster Sampling Technique เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบทดสอบสุขภาพจิต Symptom Checklist-90 (SCL-90) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Unpaired t-test ANOVA (F-test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โคยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า พระภิกษุสงฆ์มีสุขภาพจิตในลักษณะที่มีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 33.89 โดยพบกลุ่มอาการด้านพฤติกรรมและความคิดที่บ่งชี้ถึงอาการของโรคจิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.49 รองลงมา คือ ความรู้สึกกลัวโดยไม่มีสาเหตุ ร้อยละ 44.92 และความรู้สึกว่ามีอาการทางกาย ร้อยละ 36.72 พระภิกษุสงฆ์ที่มีกลุ่มอาการทางสุขภาพจิตแตกต่างกันเมื่อจำแนกตามปัจจัยที่ศึกษาพบว่าพระภิกษุสงฆ์กลุ่มอายุ 21-25ปี สถานภาพสมรส (ก่อนบวช) หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ รายได้ของครอบครัว(ก่อนบวช) ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ต่างจังหวัด มีโรคทางกาย มีการใช้ยาและสารเสพติดก่อนบวช ไม่ได้ประกอบอาชีพก่อนบวช มีจำนวนพรรษา 1-5 ปี และเรียนปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี มีค่าคะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการทางสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.005 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to explore mental health and factors related to mental health of monks in Bangkok Metropolis. The sample obtained through Multi - stage Cluster Sampling technique, was composed of 900 monks .The instruments were demographic data questionnaire and Symptom Checklist -90 (SCL-90). Percentage, mean, standard deviation, Unpaired t-test, ANOVA (F-test) and statistic of scheffe were applied to analyze the data. It was found that the prevalence of mental health problems of monks in Bangkok Metropolis was 33.89 percents. The prevalence of the psychoticism was the highest 50.49 percents followed by phobic anxiety 44.92 percents and somatization 36.72 percents. When comparing the factors of mental health problem : age (21-25 years old), period for keeping the rained (1-5 years ) , marital status (ordinary : widow/divorce/seperate), occupational (ordinary : employment), educational of dharma, domicile, family income (ordinary : income less than 5,000 bath), physical pathology and substance use behavior (ordinary) were significantly related to mental health problem in Buddhist monks at 0.005 level of confidence. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | สงฆ์ -- สุขภาพจิต | |
dc.subject | พุทธศาสนา | |
dc.subject | การบวช | |
dc.subject | พุทธศาสนา | |
dc.title | สุขภาพจิตของพระภิกษุสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | Mental health of Buddhist monks in Bangkok Metropolis | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |