DSpace Repository

ผลของการออกกำลังกายแบบโยคะในผู้ป่วยไมโอแฟเชียลเพนซินโดรมแบบเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษณา พิรเวช
dc.contributor.advisor ปราณี สุจริตจันทร์
dc.contributor.author ธิดารัตน์ อร่ามวัฒนชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-08T03:38:02Z
dc.date.available 2020-12-08T03:38:02Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741419996
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71374
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบโยคะในการรักษาMyofascial pain syndrome แบบเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน โดยศึกษาจากค่า Pressure pain threshold, Visual analog scale, องศาการเคลื่อนไหวของคอ 6 ท่า คือ การก้มและเงยคอ การเอียง คอไปทางขวาและซ้าย และการหมุนคอไปทางขวาและซ้าย และคะแนนแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป SF-36 กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Myofascial pain syndrome บริเวณ กล้ามเนื้อคอ และหลังส่วนบน มานานมากกว่า 6 เดือน จำนวน 15 คน อายุระหว่าง 18 - 48 ปี เข้าเรียน โยคะกับครูฝึก 1 ชั่วโมงต่อครั้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และฝึกเองที่บ้านประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทำการวัดผลก่อน, ทุก 2 สัปดาห์ขณะฝึก และหลังการฝึกโยคะ ยกเว้นคะแนนแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป SF-36 จะประเมินเฉพาะก่อนและหลังการฝึกโยคะผลการศึกษาพบว่า หลังการฝึกโยคะ 8 สัปดาห์ ค่า Pressure pain threshold มีค่าเพิ่มขึ้น ค่า Visual analog scale มีค่าลดลง ค่าองศาการเคลื่อนไหวของการเงยคอ การเอียงคอไปทางขวาและซ้าย และการหมุนคอไปทางขวาและซ้ายเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนแบบสอบถามคุณภาพทั่วไป SF-36 ด้านความสามารถในการทำกิจกรรม ด้านผลกระทบจากอาการเจ็บปวดของร่างกาย ด้าน ความผาสุกในการดำเนินชีวิต และด้านสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับก่อนฝึกโยคะ สรุปได้ว่าการออกกำลังกายแบบโยคะเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถช่วยลดอาการปวดเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของคอและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย Myofascial pain syndrome แบบเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบนได้
dc.description.abstractalternative The objective of this experimental study is to study the effects of eight-week yogic exercise in chronic myofascial pain syndrome of neck and upper back muscles by measuring pressure pain threshold, visual analog scale, cervical range of motion เท 6 directions, and 36 item short form health survey (Thai version). Fifteen chronic myofascial pain syndrome patients, aged 18-48 years old, participating in eight-week yogic exercise program. Subjects attended an hour of yogic class, two times a week, and practiced yogic exercise at home for thirty minutes per session at least three times a week. Pressure pain threshold, visual analog scale, and cervical range of motion were measured at baseline, 2nd, 4th 1 6th and 8th week of the program. The short form SF-36 was recorded at baseline and at the end of 8th week. The pressure pain threshold was increased whereas visual analog scale was decreased and cervical range of motions were increased in all directions significantly at the end of yogic exercise program. There was significantly improvement in physical function, bodily pain, vitality, and mental health of 36 item short form health survey score. This study suggested that the practice of yogic exercise can improve the pain, cervical range of motion and quality of life in chronic myofascial pain syndrome patients.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โยคะ (กายบริหาร) -- การใช้รักษา en_US
dc.subject ไมโอแฟเชียลเพนซินโดรม en_US
dc.subject Hatha yoga -- Therapeutic use en_US
dc.subject Myofasical Pain Syndrome en_US
dc.title ผลของการออกกำลังกายแบบโยคะในผู้ป่วยไมโอแฟเชียลเพนซินโดรมแบบเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน en_US
dc.title.alternative Effects of yogic exercise in chronic myofascial pain syndrome of neck and upper back muscles en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Krisna.P@Chula.ac.th
dc.email.advisor Pranee.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record