Abstract:
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะการบริการรถขนส่งสาธารณะ ทัศนคติของประซาซน และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับการบริการรถขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางปรับปรุงการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประซาซน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา วิธีการศึกษาใช้การศึกษาเอกสาร การลังเกตการณ์ ภาคสนาม การสำรวจผู้เดินทางในเขตเมืองเชียงใหม่โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 450 ชุด และสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการรถสองแถวในเมืองเชียงใหม่จำนวน 30 ราย และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการรถขนส่งสาธารณะหลักคือรถสองแถวแดง โดยแล่นวนรับ ผู้โดยสารในลักษณะของรถแท็กซี่ (Share Taxi) มีการให้บริการแบบรับ-ส่งผู้โดยสารจากจุดเริ่มต้นถึงจุด ปลายทางหริอ door-to-door พื้นที่ให้บริการที่สำคัญได้แก่ แหล่งรวมกิจกรรมและจุดเปลี่ยนการเดินทางที่ สำคัญ สำหรับปัญหาการให้บริการของรถสองแถว ได้แก่ ปัญหาการให้บริการมีความล่าช้า ปัญหามารยาท ในการขับรถสองแถว ปัญหาอัตราค่าโดยสารไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ปัญหาการรอรถสองแถวนานในบางเล้นทาง ปัญหาด้านสภาพของตัวรถและความปลอดภัยในการเดินทาง ผลการสำรวจผู้เดินทางพบว่าประชาชนที่เดินทาง ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 88 และใช้รถโดยสารสาธารณะ เพียงร้อยละ12 เมื่อพิจารณา ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการรถสองแถวแดง พบว่า มีผู้ใช้บริการรถสองแถวแดงร้อยละ 82 แต่ส่วนใหญ่เป็น การใช้บริการนานๆครั้ง ถึงร้อยละ 65 สำหรับทัศนคติเกี่ยวกับรูปแบบรถขนล่งสาธารณะที่ต้องการ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนระบบการเดินรถให้วิ่งบริการแบบประจำทาง คิดเป็นร้อยละ 88 โดย ประเภทรถที่ต้องการคือ รถไมโครบัสร้อยละ 32 รถเมล์ร้อยละ 29 และประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ จัดรูปแบบรถสองแถววิ่งไม่ประจำทางและรถเมล์วิ่งประจำทางร่วมกันในอนาคต ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมการเดินรถประจำทางในเขตเมือง กำหนดเส้นทางเดินรถประจำทางที่เหมาะสม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของถนนให้เหมาะสมกับการเดินรถ ประจำทาง ปรับปรุงรูปแบบการเดินรถให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาซน กำหนดราคาค่าโดยสาร ให้เหมาะสม พัฒนาระบบขนส่งลาธารณะรูปแบบอื่นให้เหมาะสมต่อการเดินทางในแต่ละพื้นที่ปรับปรุงคิวรถสองแถวที่มีอยู่เดิมให้วิ่งประจำทางในเส้นทางที่เหมาะสม และล่งเสริมความร่วมมือในการจัดระเบียบ รถขนส่งสาธารณะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง