Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นวนิยายของนะญีบ มะห์ฟูซซุด The Cairo Trilogy [Palace Walk (1994), Palace Desire (1994), Sugar street (1997)] และนวนิยายเรื่อง The Day the Leader Was Killed (2001) ในด้านของผลกระทบของจักรวรรดินิยมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อียิปต์ จากการคึกษาพบว่า The Cairo Trilogy นำเสนอการเมือง1ในยุคอาณานิคมและยุคหลังใต้รับอิสรภาพเพื่อ แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของระบบการเมืองที่ถูกแทรกแซงจากตะวันตก การต่อสู่ทางการเมืองจึง เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมและชาติมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ กล่าวคือ ขบวนการชาตินิยม ขบวนการมุสลิมอนุรักษ์นิยม ตลอดจนลัทธิคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ล้วนมีบทบาทในการ ขับเคลื่อนการเมืองอียิปต์ให้ตื่นตัวและตั้งรับกับรูปแบบของจักรวรรดินิยมที่เปลี่ยนแปลงไป The Day the Leader Was Killed สะท้อนภาพการเมืองและเศรษฐกิจ1ในยุคอินพิตาห์ ผู้ประพันธ์แสดงให้เห็นว่าประชาซนต้องเผชิญกับ ชะตากรรมที่ยากเข็ญ ประชาชนประสบปัญหาความยากจนและต้องแบกรับภาระหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้น ตลอดจน ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของบรรดานักการเมืองที่เบียดบังผลประโยชน์ของประเทศชาติ ผู้ประพันธ์นี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการไหล่บ่าเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม อียิปต์จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขัดเจน กล่าวคือ การยึดมั่นในหลักแห่งความศรัทธาเพื่อดำรงเอกลักษณ์ดั้งเดิมที่มี คุณค่าของคนรุ่นเก่านั้นเริ่มคลอนแคลนจึงนำไปล่การยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกของคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่ง อีกทั้งการ แผ่ขยายของกระแสบริโภคนิยมทำให้สังคมอียิปต์ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของค่านิยมตะวันตกมากยิ่งขึ้น ผู้ประพันธ์ เน้นยํ้าว่าวิกฤตจริยธรรมจะไม่เกิดขึ้นถ้าประชาชนใช้สติปัญญาและเหตุผลเป็นหลักในการดำเนินชีวิต นอกจากการ เปลี่ยนแปลงในแง่ลบแล้ว การเปลี่ยนแปลงในแง่บวกที่เกิดขึ้นเด่นซัดในนวนิยาย คือ การตระหนักถึงความสำคัญของ การศึกษา การประกอบอาชีพ ตลอดจนการยอมรับสิทธิสตรี