Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตรกับการปรับตัว ของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษา!ทกกลุ่มตัวอย่างทังหมด 412 คน ซึ่งถูกสุ่มด้วยวิธี Systematic stratified Sampling จากกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามความผูกพันของบิดา มารดาต่อบุตร (Parental Attachment Questionnaire) และ แบบสอบถามการปรับตัวในมหาวิทยาลัย (The Student Adaptation to College Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ unpaired t-test, analysis of variance (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ แบบ LSD-test และทดสอบความสัมพันธ์โดยค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) การ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1ปีการศึกษา2548 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการปรับตัว ในมหาวิทยาลัยระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของนิสิต ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลักษณะสถานศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตร การวิเคราะห์การปรับตัวในแต่ละด้าน ได้ผล ดังนี้ การปรับตัวด้านการเรียน และการปรับตัวด้านสังคมพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความผูกพันของบิดา มารดาต่อบุตร มีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับตัวด้านส่วนบุคคลและอารมณ์พบว่า ลักษณะ สถานศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตร มีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษาและมุ่งมั่นในเป้าหมาย และการปรับตัวโดยรวมพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ลักษณะสถานศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตร มีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตรในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพความผูกพัน ด้านการส่งเสริม ความเป็นตัวของตัวเองของบุตร ด้านการสนับสนุนทางด้านอารมณ์แก่บุตร และความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตร โดยรวม มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในแต่ละด้าน และการปรับตัวโดยรวมในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การ วิจัยครังนี้ทำให้ทราบถึงข้อมูลเบืองด้นว่า ความผูกพันของบิดามารดาต่อบุตรมีดวามสัมพันธ์กับการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลักษณะสถานศึกษาเดิมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และความ ผูกพันของบิดามารดาต่อบุตร เกี่ยวข้องกับการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลเหล่านีจะเป็นประโยชน์ในการค้นหา และให้ความช่วยเหลือนิสิตที่อาจมีปีญหาการปรับตัว ระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัย