Abstract:
การศึกษานํ้ามันระเหยจากเหง้าว่านสาวหลงโดยการกลั่นด้วยไอนํ้า สารที่พบมากที่สุด คือ p-( 1- Butenyl)anisole,trans และการศึกษาฤทธิ์เบื้องต้นทางเภสัชวิทยาของนํ้ามันระเหย ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ เรียบหลอดลมของหนูตะเภา กล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดแดงใหญ่และกล้ามเนื้อเรียบลำไล้เล็กล้วน ileum ของ หนูขาว พบว่านํ้ามันระเหยความเข้มข้นแบบสะสม (2.5x105-7.81x102 %v/v) สามารถลดการหดตัวของ กล้ามเนื้อเรียบทุกอวัยวะที่ทำการทดสอบ โดยการคลายตัวสูงสุดพบในลำไล้เล็กล้วน ileum (40.53%) รองลงมาคือหลอดลม (38.35 %) และหลอดเลือด (4.85 %) ตามลำดับ จากการศึกษากลไกการทำงานต่อ กล้ามเนื้อเรียบอวัยวะต่างๆ ของนํ้ามันระเหยจากว่านสาวหลง พบว่านํ้ามันระเหยที่ความเข้มข้น 6.25 X10-3- 7.81x102 %v/v สามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมเมื่อกระตุ้นด้วย histamine และ KCI ใน การทดสอบความสัมพันธ์ของนํ้ามันระเหยต่อชิมพาเธติครีเซปเตอร์ ในการควบคุมการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เรียบหลอดลม พบว่านํ้ามันระเหยความเข้มข้นสูงสุดที่ศึกษา คือ 7.81x10’2%v/v ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลม คลายตัว โดยผ่านการกระตุ้น β2-adrenoceptor และการทดสอบความสัมพันธ์ต่อพาราชิมพาเธติค รีเซปเตอร์ โดยใช้ ACh พบว่านํ้ามันระเหยไม่สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดลมได้ นื้ามันระเหยที่ความเข้มข้นสูงสุดที่ ศึกษา คือ 7.81x10-2 %v/v สามารถยันยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดแดงใหญ่ เมื่อกระตุ้นด้วย 5-HT และที่ความเข้มข้น 1.56x10-2-7.81x10-2 %v/v ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียนหลอดเลือดแดงใหญ่ เมื่อกระตุ้นด้วย CaCI2 ล้วนความสัมพันธ์ต่อชิมพาเธติค รีเซปเตอร์ในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ หลอดเลือด โดยใช้ NE พบว่านํ้ามันระเหยทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอด เลือดแดงใหญ่ได้ ผลของนํ้ามันระเหยต่อกล้ามเนื้อเรียบลำไล้เล็กล้วน ileum พบว่านํ้ามันระเหยที่ความเข้มข้น สูงสุดที่ศึกษา คือ 7.81 X102 %v/v สามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบลำไล้เล็ก เมื่อกระตุ้นด้วย histamine, 5-HT และ BaCI2 การทดสอบถึงความสัมพันธ์ต่อพาราชิมพาเธติครีเซปเตอร์ ในการควบคุมการ ทำงานของกล้ามเนื้อเรียบลำไล้เล็ก โดยใช้ ACh พบว่านํ้ามันระเหยความเข้มข้น 7.81x10-2 %v/v สามารถ ยับยั้งการหดตัวของลำไล้เล็กได้ สำหรับการทดลองใน Ca-2-free Krebs-Henseleit solution พบว่านํ้ามัน ระเหยสามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียนหลอดลม หลอดเลือดแดงใหญ่ และสำไล้เล็กได้เช่นกัน จาก ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่านํ้ามันระเหยจากว่านลาวหลงออกฤทธี้ยันยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบอวัยวะ ต่างๆ ที่ได้รับสารกระตุ้นที่จำเพาะต่อตัวรับบนอวัยวะนั้นๆ ได้หลายชนิดแบบไม่เฉพาะเจาะจง (non-specific antagonist) ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์น่าจะเกิดจากการรบกวนการเคลื่อนที่ของแคลเซียมผ่านเข้าเซลล์ทางช่อง ผ่านของแคลเซียม ทั้ง ROCs และ VDCs และมีผลต่อการหลั่งแคลเซียมออกจาก sarcoplasmic reticulum