Abstract:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลรัฐระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ และโรงพยาบาลเอกชนขนาดหนึ่งร้อยเตียงขึ้นไปในประเทศไทย โดยส่งแบบสอบถามชนิดให้ตอบด้วยตนเองทางไปรษณีย์ ไปยังโรงพยาบาลจำนวน 328 แห่ง เป็นโรงพยาบาล รัฐระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ (144) และโรงพยาบาลเอกชนขนาดหนึ่งร้อยเตียงขึ้นไป (184) โดยศึกษาประชากร ทั้งหมดไม่ได้สุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2548 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test และ ANOVA test ผลการวิจัย พบว่ามีอัตราการตอบกลับร้อยละ 72.3 โดยโรงพยาบาลมีการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ร้อยละ 75 มีน โยบาย/มาตรการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ร้อยละ 68.3 มีคู่มือ/แนวทางในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 73 มีหน่วยงาน/คณะกรรมการรับผิดชอบ ร้อยละ 40.4 ส่วนใหญ่มีการจัดสรรบุคลากรไม่เพียงพอ ร้อยละ 60.7 ใช้ยาเคมีบำบัดชนิดฉีดเฉลี่ย 9 ขนาดใช้/วัน ส่วนใหญ่ใช้ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 36.5 ไม่มีหอผู้ป่วย ให้ยาเคมีบำบัดโดยเฉพาะ ร้อยละ 87.1 มีผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้ยาเคมีบำบัดเฉลี่ย 95 คน/เดือน มีศูนย์กลางเตรียมยา เคมีบำบัด ร้อยละ 40.3 การบริหารการใช้ยาเคมีบำบัดตามแนวปฏิบัติของ OSHA ซึ่งมีการประเมิน 5 ระดับ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง โดยมีการปฏิบัติด้านการเก็บยาในระดับค่อนข้างมาก การปฏิบัติ ด้านการจัดหาสถานที่ ขนส่งยา กำจัดขยะ อุปกรณ์ปนเปื้อนยาและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย การจัดการเมื่อเกิดอุบัติ เหตุยาหก ตก แตก รั่ว ในระดับปานกลาง ส่วนการปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพ เก็บบันทึกข้อมูล ฝึกอบรมและเผย แพร่ข้อมูล การเตรียม การให้ยาเคมีบำบัด อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ ปฏิบัติงานบริหารการใช้ยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านโรงพยาบาล ได้แก่ ระดับการให้บริการ ประเภทสังกัดขนาดของโรงพยาบาลปริมาณและความถี่ในการใช้ยาจำนวนผู้ป่วยใช้ยา การดำเนิน งานคุณภาพ การรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล หอผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัดโดยเฉพาะ ปัจจัยด้านหน่วยงาน ได้แก่ นโยบาย/มาตรการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด คู่มือ/แนวทางในการปฏิบัติงาน หน่วยงาน/คณะกรรมการที่รับผิด ชอบ ช่องทางการสื่อสาร และงบประมาณที่เพียงพอในการดำเนินงานบริหารการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนปัจจัยที่ เป็นปัญหาหรืออุปสรรคใน การดำเนิน งาน 3 อันดับแรก คือ ด้านสถานที่และอุปกรณ์ ร้อยละ 69.9ด้าน บุคลากร ร้อยละ 69.2 ด้านนโยบาย คู่มือ แนวทางในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 60.9 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการบริหารการใช้ยาเคมีบำบัดของไทยตามแนวปฏิบัติของ OSHA โดย รวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลางและโรงพยาบาลควรจัดให้มีนโยบาย งบประมาณ และแนวทางในการ ดำเนินงาน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาล ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้มากที่สุด เพื่อ ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล