Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรเกรมการ ส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาในผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการ ส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2002) แนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ Thorndike (cited in Bernard, 1972) และการโทรศัพท์เยี่ยมบ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุจำนวน 40 คน จัดเป็นกลุ่ม ควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20คน โดยจับคู่ในเรื่อง เพศ การศึกษา รายได้ และโรคประจำตัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ ประโยชน์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการบรรยาย ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนการ อภิปรายกลุ่มและขั้นตอนการกระตุ้นการปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการ ส่งเสริมสุขภาพตาของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบวัดของวีระ อิงคภาคสกรเละคณะ (2545) สร้างขึ้นจากรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (1990) ได้ค่าความเที่ยง .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาของผู้สูงอายุหลังได้รับโปรแกรม การส่งเสริมการรับรู้ประโชน์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2. ค่าเฉลี่ยของคะเนนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาของผู้สูงอายุหลังได้รับโปรแกรม การส่งเสริมการรับรู้ประโชน์สูงกว่าผู้สูงอายุที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01