Abstract:
ละครชาตรีเริ่มแพร่หลายในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่คราวที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อพยพเข้ามาสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องรถเสนเป็นชาดกเรื่องหนึ่งอยู่ในคัมภีร์ปัญญาสชาดก ชื่อตัวละครเอกในเรื่องรถเสนคือ พระรถเสนและนางเมรีไปฟ้องกับนามบุคคลที่มีตัวตนในพงศาวดารล้านช้าง นายมนตรี ตราโมท เป็นผู้ปรับปรุงบทละครเรื่องรถเสนออกแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ และเป็นผู้ บรรจุเพลงร่ายชาตรีทั้ง 3 ชนิด ลงในบทละครโดยร่ายชาตรีหนึ่งใช้ดำเนินเรื่อง ร่ายชาตรีสอง เป็นบทตลก ร่าย ชาตรีสามเป็นบทโศก โครงสร้างทำนองร่ายชาตรีทั้ง 3 ชนิด มีเค้าโครงมาจากการแสดงละครโนราชาตรีในสมัย โบราณ วัตถุประสงค์ของการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของเรื่องรถเสน และการแสดงละครเรื่อง รถเสน ความสัมพันธ์ของทำนองร่ายชาตรีและคำประพันธ์ที่ใช้ขับร้อง และเปรียบเทียบทำนองขับร้องร่ายชาตรี ชนิดต่าง ๆ ด้วยกระบวนการสังคีตลักษณ์วิเคราะห์ ผลการวิจัย พบประเด็นที่สำคัญดังนี้ 1. ละครชาตรีเป็นละครที่เก่าแก่ที่สุดของไทย เป็นบ่อเกิดของละครชนิดอื่น ๆ 2. เรื่องรถเสนเป็นชาดกเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก 3. ร่ายชาตรีหนึ่งมีระดับเสียงห่างกันเป็นคู่สอง ร่ายชาตรีสองมีระตับเสียงห่างกันเป็นคู่สี่ และร่าย ชาตรีสามมีระดับเสียงเป็นกลุ่มปัญจมูล 4. จังหวะหน้าทับประกอบการร้องร่ายรำชาตรีมีลักษณะเด่นในด้านความบีบคั้น ความคลี่คลาย และ การซ้ำจนเกิดเอกภาพตลอดจนจบลงด้วยความบริบูรณ์ 5. เสียงวรรณยุกต์ของคำร้องร่ายชาตรีมีความสัมพันธ์ต่อทำนองร่ายชาตรี