Abstract:
การศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน ใช้กรอบตัวแปร 7 ตัว ได้แก่ บุคลากร ความรับผิดชอบ เงินเดือนและ สวัสดิการสภาพแวดล้อมในการทำงานโอกาส ความมั่นคงในงานและความต้องการทางลังคม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏ แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 245 คน เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยของรัฐ และบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 332 คน เป็นตัวแทนของ มหาวิทยาลัยเอกชนโดยไม่แยกเพศ สมมติฐานหลักของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คือ 1. บุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านบุคลากร ด้านความรับผิดชอบ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้าน โอกาส มากกว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยของรัฐ 2. บุคลากรในมหาวิทยาลัยของรัฐมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความมั่นคง ในงานและด้านความต้องการทางสังคม มากกว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. สมมติฐานข้อแรกเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ยกเว้นด้านความรับผิดชอบ 2. สมมติฐานข้อที่สองไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้