Abstract:
วิทยานิพนธ์ต่อฉบับนี้ศึกษากรณีเปรียบเทียบการใช้นโยบายสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรปต่อพม่า และอินโดนีเซียในช่วง ค.ศ. 1989-ปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า การใช้นโยบายดังกล่าวของสหภาพยุโรปต่อประเทศทั้งสอง มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้นำเอาแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติมาเป็นกรอบในการศึกษาวิจัย จากการศึกษาพบว่า สหภาพยุโรปซึ่งมีวัตประสงค์อย่างชัดเจนในการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งภายในสหภาพ และในระดับโลก ได้ดำเนินนโยบายสิทธิมนุษยชนต่อพม่าและอินโดนีเซียในลักษผะ "ทวิมาตรฐาน" ทั้ง ๆ ทีมีสภาพปัญหาสิทธิมนุษยชนที่คล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การกักขังหน่วงเหนี่ยว และการสูญหายของนักโทษการเมือง และการละเมิดสิทธิของชนกลุ่มน้อย เป็นต้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้ พิจารณาว่าการดำเนินนโยบายทวิมาตรฐานดังกล่าวข้างต้น เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ทางการค้าที่แตกต่างกัน เนื่องจากความสัมพันธ์ทางการค้ากับพม่านั้นอยู่ในระดับที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย ส่งผลให้สหภาพยุโรปดำเนินนโยบายสิทธิมนุษยชนต่ออินโดนีเซียในลักษณะที่ยืดหยุ่นกว่าที่ปฏิบัติต่อพม่า ดังนั้น ในกรณีของพม่าและอินโดนีเซียแม้จะมีสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะใกล้เคียงกัน แต่สหภาพยุโรปก็ดำเนินนโยบายสิทธิมนุษยชนในลักษณะทวิมาตรฐานต่อสองประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้รับจากพม่าและอินโดนีเซียแตกต่างกัน