dc.contributor.advisor |
ธัชชัย ศุภผลศิริ |
|
dc.contributor.author |
สุนันท์ เลขบวรวงศ์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-01-20T04:19:29Z |
|
dc.date.available |
2021-01-20T04:19:29Z |
|
dc.date.issued |
2531 |
|
dc.identifier.isbn |
9745685836 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71831 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
|
dc.description.abstract |
การสลักหลังตั๋วเงินมีปัญหาทางกฎหมายหลายประการ ทั้งในด้านเนื้อหากฎหมายและในทางปฏิบัติ ในด้านเนื้อหากฎหมาย ตัวบทยังขาดความชัดเจนและเคลือบคลุม เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ และเกิดข้อโต้เถียงกันในหมู่นักกฎหมายชนิดหาข้อยุติไม่ได้ วิทยานิพนธ์นี้มุ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการสลักหลังตั๋วเงินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แนวคำพิพากษาศาลฏีกาและแนวความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นหลักในการวิจัยและเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ผลที่ได้จากการวิจัยนี้พบว่า ปัญหาทางกฎหมายในเรื่องการสลักหลังตั๋วเงินมีที่มาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังนี้คือ ก. บทบัญญัติมีความไม่ชัดเจน บางมาตรามีการใช้ถ้อยคำเคลือบคลุมตีความได้หลายนัย ข. บทบัญญัติบางมาตรา ทำให้สิทธิของคู่สัญญาบางฝ่ายในตั๋วเงินถูกจำกัดโดยไม่จำเป็นและสมควร ค. บทบัญญัติบางมาตรา ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายในเรื่องการแสดงเจตนาและหลักในเรื่องความรับผิดชอบของคู่สัญญา ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะว่าควรให้มีการปรุงปรุงบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใหม่โดย ก. ปรับปรุงบทบัญญัติให้ความชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น มาตรา 313, 905, 919 และ924 ข. ปรับปรุงบทบัญญัติมิให้สิทธิของคู่สัญญาในตั๋วเงินถูกจำกัดโดยไม่จำเป็นและสมควร เช่น มาตรา 1003 ค. ปรับปรุงบทบัญญัติให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายในเรื่องการแสดงเจตนาและหลักในเรื่องความรับผิดชอบของคู่สัญญา เช่น มาตรา 921 |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis is intended to spell out legal problems concerning the provisions of the Civil and Commercial Code with respect to endorsement of bills, the precedent of Dika Court and legal views and concepts of the learned lawyers and to use them as the basis for analysis and for comparison with the laws on bills of other countries. As far the outcome of this attempt is concerned, the followings are the problems found in the provisions of our present laws with respect to endorsement of bills: (a) some provisions are vague due to ambiguous wordings there in which leads to interpretative problems; (b) some provisions cause unnecessary and unfair restriction on the rights of the parties to bills; and (c) some provisions are not consistent with the legal principal of intent and liability of the contractual parties. This thesis therefore to suggest that our Civil and Commercial Code need to be revised to the following extent: (a) some vague provisions should be amended to bring forth clarity, e.g. Section 313, 905, 919 and 924; (b) some provisions should be amended to abolish unnecessary and unfair restriction on the rights of the parties to bills, e.g. Section 1003 ; and (c) some provisions should be amended to be consistent with the Legal principal of intent and Liabilities of the parties to a contract, e.g. Section 921. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การสลักหลังตั๋วเงิน |
|
dc.subject |
Indorsements |
|
dc.title |
ปัญหาทางกฏหมายเกี่ยวกับ"การสลักหลังตั๋วเงิน" |
|
dc.title.alternative |
Legal problems on indorsement of bills |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|