Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษากลไกทางวินัยของข้าราชการตุลาการในประเทศไทย ที่ปรากฏอยู่ในรูปของ กฎระเบียบ ข้อบังคับหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นทางการ โดยศึกษาจากวิวัฒนาการของพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 และศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 กับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ในประเด็นของข้อกำหนดวินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาในระยะเริ่มเรกและวิวัฒนาการแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงในระยะต่อมา นอกจากนี้ ยังได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบกลไกทางวินัยของข้าราชการตุลาการ ที่ใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน มาเลเซีย และสิงคโปร์ จากการศึกษาพบว่า หลักการเท่าที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการผ่ายตุลาการ ฉบับปัจจุบันอันอาจกล่าวได้ว่าเป็นแก่นของกลไกนี้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเหมาะสมถูกต้อง ได้แก่ หลักความเป็นอิสระของข้าราชการตุลาการ และความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ ข้าราชการตุลาการอาจพ้น จากตำแหน่งได้ในกรณีที่ความประพฤติเสื่อมเสีย หรือไร้ความสามารถ หรือทุพพลภาพเท่านั้น ในกรณีความ บระพฤติเสื่อมเสีย ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับโอกาสในการแก้ข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งบระกอบ ด้วยข้าราชการตุลาการอย่างน้อย 3 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้ง สำหรับการ ศึกษารูปแบบกลไกทางวินัยของข้าราชการตุลาการที่ใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ แม้ว่ากลุ่มประเทศที่ทำการ ศึกษาจะมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในระดับของความเคร่งครัด หรือความยึดมั่นกับแนวความคิดในเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ อันอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รูปแบบกลไกทางวินัย ของข้าราชการตุลาการในบระเทศต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะ เฉพาะเป็นของตนเอง เพื่อตอบสนองความจำเป็นของสังคมนั้น ๆ วิทยานิพนธ์นี้ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ดังนี้ 1. สร้างปัจจัยส่งเสริมวินัยด้วยการฝึกอบรมและศึกษา วิจัยเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมของคนในองค์การ 2. ออกแบบสอบถามเพื่อหยั่งความคิดเห็น ของข้าราชการตุลาการส่วนใหญ่ที่มีต่อการปรับปรุงคณะกรรมการตุลาการ 3. ปรับปรุงความรู้ความสามารถ ของบุคลากรกองงานคณะกรรมการตุลาการ 4. แก้ปัญหาความลักลั่นในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายใน กระทรวงยุติธรรม 5. สร้างสภาพแวดล้อมของตัวข้าราชการตุลาการให้เอื้ออำนวยต่อการมีวินัยที่ดี 6. ปรับปรุงค่าตอบแทนในการทำงานของข้าราชการตุลาการ 7. ปรับปรุงกระบวนการในการลงโทษ