Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงบทบัญญัติพิเศษสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในความเข้าใจว่าด้วยกฎเกณฑ์และกระบวนการระงับข้อพิพาท (Understanding on Rules and Procedures Governing the Settlement of Disputes) ภายใต้ข้อตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก (Agreement Establishing the World Trade Organization) ที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่สมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินกระบวนการระงับข้อพิพาท จากผลการวิจัยพบว่าประเทศกำลังพัฒนาบังไม่ได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษที่มีอยู่ในความเข้าใจฯ 1994 อย่างเต็มที่ ดังนี้ 1) ประเทศกำลังพัฒนายังไม่เคยร้องขอให้มีการใช้มาตรการพิเศษในปี 1966 มาเป็นทางเลือกที่จะไม่ใช้บทบัญญัติในมาตรา 4, 5, 6 และ 12 ของความเข้าใจฯ 1994 เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาแต่อย่างใด 2) มาตรการพิเศษสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในกระบวนการปรึกษาหารือที่ได้กำหนดให้สมาชิกควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษแก่ปัญหาและผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนาในระหว่างการปรึกษาหารือ เป็นมาตรการที่ไม่มีผลบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 3) รายงานของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทมิได้มีการระบุอย่างชัดแจ้งถึงการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างแก่ประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งการกำหนดระยะเวลาที่เพียงพอสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการเตรียมและเสนอคำโต้แย้งก็จะต้องได้รับการยอมรับโดยฉันทามติจากคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท 4) องค์กรระงับข้อพิพาทบังมิได้ให้การปฏิบัติที่เป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำตัดสินตามที่ได้บัญญัติไว้ 5) จำนวนผู้เชี่ยวชาญหรือนักกฎหมายของ WTO ในการให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้านกฎหมายแก่ประเทศกำลังพัฒนามีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา