Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องการฟ้อนรำของชาวชอง : กรณีศึกษาหมู่บ้านกระทิง ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการฟ้อนรำของกลุ่มชนชาวชอง ในหมู่บ้านกระทิง จังหวัดจันทบุรี ช่วงปี พ.ศ.2541-2543 ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาจากเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนชาวชอง การสัมภาษณ์ชาวชองในหมู่บ้านกระทิง เข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการ ประกอบพิธีกรรมจริง บันทึกเสียงและบันทึกเทปวิดีทัศน์ สังเกตและจดบันทึกท่ารำจากการสาธิตการประกอบพิธีกรรม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง วิเคราะห์และนำเสนอ จากการศึกษาพบว่า กาวฟ้อนรำชองชาวชอง มีปรากฏอยู่ใน 3 พิธีกรรมคือ พิธีแต่งงานใหญ่ พิธีเล่นผีหิ้ง และพิธีเล่นผีโรง พิธีแต่งงานใหญ่เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อมีการแต่งงานของลูกสาวคนโตในครอบครัวเท่านั้น และพบว่ามีการฟ้อนรำแทรกอยู่ในขั้นตอนการประกอบพิธี 3 พิธีคือ พิธีชนวัวชนควาย พิธีโค่นคะเคียน และพิธีขันไก่ ช่วงที่ 1 เมื่อขนวนขันหมากแห่มาจากบ้านเจ้า บ่าวที่ลานบ้านเจ้าสาว จะมีการแสดงชนวัวชนควาย โดยชาย 2 คน สวมเขาวัวเขาควายเทียมบนศีรษะ ออกท่าทางต่าง ๆ ไล่ขวิคกันประมาณ 15-20 นาที โดยมีชายอีก 2-3 คน กระทุ้งไม้คันกะลาและเขย่ากระดึงโลหะให้จังหวะประกอบการออกท่าทาง ในช่วงที่ 2 เป็นการฟ้อนรำระหว่างที่หมอปลูกผู้ประกอบพิธีทำพิธีโค่นคะเคียน ถือขวานปูลู ฟ้อนรำทำท่าเดินวนรอบคู่บ่าวสาว ทำท่าทางโค่นคะเคียนสมมติที่เรียกว่าเชงเลง การฟ้อนรำในช่วงที่ เป็นการฟ้อนรำโดยผู้ประกอบพิธี ช่วงที่ 3 เป็นการฟ้อนรำระหว่างที่หมอปลูกทำพิธีขันไก่ ทำท่าทางเลียนแบบกิริยาของไก่ เดินวนรอบคู่บ่าวสาว ส่วนในพิธีเล่นผีหิ้ง และเล่นผีโรง เป็นพิธีที่ชาวชองกระทำเพื่อเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษ โดยเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษมาเข้าร่างทรง เพื่อไต่ถามทุกข์สุขกัน ในการเล่นผีหิ้งและเล่นผีโรงนี้ พบว่ามีการฟ้อนรำแทรกอยู่ในระหว่างการเชิญวิญญาณผีบรรพบุรุษมาเข้าร่างทรง โดยร่างทรงจะออกท่าทางฟ้อนรำทำท่าทางต่าง ๆ ประกอบคำร้องโดยมีกลองและไม้กรับเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการฟ้อนรำเป็นลักษณะที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการฟ้อนรำในพิธีแต่งงานมีไม้ทันกะลา เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นทำด้วยไม่ไผ่ ด้านปลายสุดของไม้ไผ่ผูกขึงด้วยกะลา ใช้กระทบให้เกิดเสียงเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำ มีเชงเลงเป็นไม้ไผ่สานเป็นฐปกรวย เป็นสิ่งสมมติให้เป็นต้นไม้ในพิธีโค่นตะเคียน ส่วนในพิธีเล่นผีหิ้งและเล่นผีโรง ผู้ฟ้อนรำใช้ผ้าขาวม้าเป็นอุปกรณ์ประกอบในการฟ้อนรำทำท่าเพื่อสื่อให้ทราบว่าวิญญาณผีบรรพบุรุษที่มาเข้าร่างทรงนั้นเป็นใคร กลองที่ใช้ตีประกอบจังหวะมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า การฟ้อนรำของชาวชอง เป็นส่วนสำคัญในการประกอบพิธีกรรม ทั้ง 3 พิธี ซึ่งสังเกฅได้ว่าปัจจุบันการประกอบพิธีทั้ง 3 พิธีนั้น มีการประกอบพิธีกรรมลดน้อยลงจากเดิมมาก เนื่องจากกาวแต่งงานของลูกสาวคนโตในพิธีการแต่งงานใหญ่นั้นหากเป็นการแต่งงานกับชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวชองก็จะไม่มีการประกอบพิธีนี้ขึ้น ส่วนพิธีเล่นผีหิ้งและเล่นผีโรงชาวชองก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญและจัดการประกอบพิธีนี้ลดน้อยลงกว่าเดิม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากค่านิยม และความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษลดน้อยลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้การฟ้อนรำชองชาวชองสูญหายไป จึงควรรักษาและสืบทอดการฟ้อนรำ อันเป็นกเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาวชองที่ให้คงอยู่สืบต่อไป นอกจากนั้นควรมีการศึกษาและรวบรวมเกี่ยวกับการฟ้อนรำของชาวชองในหมู่บ้านอื่น ๆ และในจังหวัดใกล้เคียงที่ยังคงมีชาวชองอาศัยอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากอาจพบรูปแบบและลักษณะการฟ้อนรำที่แตกต่างไปจากการฟ้อนรำของชาวชองในหมู่บ้านกระทิง