Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสำนึกในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมในชุมชนรือเสาะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็แบบสอบถาม รวมทั้งการสัมภาษณ์ระดับลึกและการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในชุมชนสำหรับกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อยู่ใน ต. รือเสาะ อ. รือเสาะ จ. นราธิวาส ซึ่งประชากรกลุ่มนี้จะมีทั้งผู้ใหญ่บ้าน อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น คณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชนที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ จำนวน 200 คน สำหรับสถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ใช่วิธีการหาค่าจำนวน (Frequency) หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard Deviation) Pearson’s chi-square (X2) สัมประสิทธิ์ Contingency Coefficient (C) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Rf10) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า ความสำนึกในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมในชุมชนรือเสาะส่วนใหญ่ พบว่า มีความสำนึกในเอกลักษณ์ทางชาติพันธ์อยู่ในระดับสูง เนื่องมาจากความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นที่มาจากการนับถือศาลนาเดียวกัน มีหลักการทางศาลนาที่กำหนดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมุสลิม ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม มีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น มีความรู้สึกผูกพันทางด้านศาสนาสูง และมีเอกลักษณ์พิเศษที่ปรากฎออกมาคือ เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ความเชื่อ ภาษามาลายูท้องถิ่น และแม้กระทั้งความสำนึกในทางประวัติศาสตร์ และเนื่องจากศาลนาอิสลามสร้างสรรค์ความผูกพันของกลุ่มมุสลิมในอยู่ร่วมกัน และจะต้องปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน ซึ่งในขณะเดียวกันก็สร้างสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นแบบฉบับของตนเองตามแนวทางของศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความสำนึกในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุของชาวไทยมุสลิมในชุมชนรอเลาะ มีจิตสำนึกในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง มีการแสดงออกอย่างเด่นชัดในเรื่องของการใช้ภาษาพูด คือ ภาษามาลายูท้องถิ่น และการใช่ภาษาที่มีความเกี่ยวข้อลับศาสนา นั้นคือ ภาษายาวี การแต่งกายตาม ลักษณะเฉพาะ ที่แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน จากชาวไทยพุทธ รวมทั้งความสำนึกในเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ปรากฏออกมาเป็นความขัดแย้งในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสื่อภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน กับทั้งหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน จึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน แต่ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเนื่องจากมุสลิมในภาคใต้มีการศึกษาเพิ่มขึ้น และยังมีหน่วยงาน ศอ.บต. เข้าไปช่วยประสานความ สัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับข้าราชการ