Abstract:
ด้วยจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีธรรมชาติสวยงาม ทำให้มีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการก่อสร้างอาคารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอาคารพักตากอากาศสาธารณะบริเวณชายฝังทะเล จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ด้วยเหตุนี้หน่วยงานราชการต่างๆ จึงได้ออกกฎหมาย เพี่อเป็นการป้องกันและรักษาคุณภาพสิงแวดล้อม โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคารซึ่งมีอยู่หลายฉบับ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ พิจารณาถึงปัญหาและผลกระทบจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่อการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมสำหรับอาคารพักตากอากาศสาธารณะ ได้แก่ โรงแรม และอาคารชุดพักตากอากาศ บริเวณหาดปาตอง และหาดกะรน โดยทำการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาระของกฎหมายกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และทำการล้มภาษณ์สถาปนิก เจ้าหน้าที่ราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น ถึงประเด็นปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในเรื่องการกำหนดพื้นที่ควบคุมในการก่อสร้าง และลักษณะอาคาร 2. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 ในเรื่องการกำหนดบริเวณควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในเรื่องการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนการจัดทำรายงาน และการกำหนดพื้นที่ควบคุมในการก่อสร้างอาคาร จากการสำรวจและสัมภาษณ์ พบว่า กฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ 1. ความไม่ชัดเจนในเนื้อกฎหมาย ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ความหมายของ “แนวชายฝั่งทะเล” การวัดความสูงอาคาร การอ้างอิงระดับความสูงและความลาดชัน และความหมายของ “อาคารอยู่อาศัยรวม” 2. ความซ้ำซ้อนในเนื้อหาของกฎหมาย ได้แก่ การกำหนดพื้นที่ควบคุม และมาตรฐานอ้างอิงในการออกแบบ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในขั้นการวางเค้าโครงการออกแบบ การออกแบบร่างขั้นต้น การออกแบบร่างขั้นสุดท้ายการทำรายละเอียดการก่อสร้าง ไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้างอาคาร ทำให้ต้องมีการปรับแก้ไขแบบ หรืออกแบบใหม่ ทำให้สูญเสียเวลาและกำลังคน รวมทั้งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และในการออกแบบสถาปนิกมีแนวโน้มที่จะออกแบบตามที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าใจหรือตีความ ซึ่งอาจเป็นการจำกัดทางเลือกของการออกแบบสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตามจากการศึกษายังพบว่า มีบางโครงการเลือกใช้วิธีการที่จะเลี่ยงกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อเสนอแนะในการแกไขปัญหาดังกล่าวควรดำเนินการทั้งในระดับราชการส่วนท้องถิ่น และส่วนกลางไปพร้อมกัน โดยจัดการประชุมหารือในประเด็นปัญหาความไม่ชัดเจนและความซ้ำซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกับทางหน่วยงานท้องถิ่น และภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรม บริษัทผู้ออกแบบและสถาปนิกในท้องถิ่น เพี่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสม และในการออกกฎหมายต่อไป ควรพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น นอกจากนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่สถาปนิก เจ้าของโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าด้วยการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมีภาค และการมีส่วนร่วมของประชาชน.