Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลของการพยาบาลเป็นทีมต่อประสิทธิผลของหอผู้ป่วยระหว่างกลุ่มทดลอง ซึ่งทีมการพยาบาลใช้แบบแผนการพยาบาลเป็นทีมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น กับกลุ่มควบคุมซึ่งปฏิบัติงานตามรูปแบบของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กลุ่มทดลองคือ ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 16 คนผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 60 คน และกลุ่มควบคุมคือ ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงจำนวน 14 คน ผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 60 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เลือกจากที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และจัดกลุ่มด้วยวิธีจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดประสิทธิผลของหอผู้ป่วยมีจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากทีมการพยาบาล ชุดที่ 2 สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 ทั้งสองชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากทีมการพยาบาลในด้านประสิทธิภาพบริการพยาบาล ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในกายืดหยุ่นและโดยรวมทั้ง 3 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากก่อนใช้การพยาบาลเป็นทีม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิตที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความสามารถในการปรับตัวพบว่าไม่แตกต่างกัน 2. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยในด้านปริมาณการบริการพยาบาล คุณภาพการบริการพยาบาล และโดยรวมทั้ง 2 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากก่อนใช้การพยาบาลเป็นทีมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากทีมการพยาบาลในด้านประสิทธิภาพบริการพยาบาล ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการยืดหยุ่น และโดยรวมทั้ง 3 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมขอมูลจากผู้ป่วยในด้านปริมาณการบริการพยาบาลคุณภาพการบรีการพยาบาล และโดยรวมทัง 2 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านคุณภาพการบริการพยาบาลพบว่าไม่แตกต่างกัน