DSpace Repository

การวิเคราะห์เปรียบเทียบและความสำคัญของแหล่งที่ตั้งตลาด สินค้าประมงทะเลในระดับจังหวัด : กรณีศึกษา ตราด ระนอง สงขลา สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
dc.contributor.author อนุชา ธีรตานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-02-06T08:31:51Z
dc.date.available 2021-02-06T08:31:51Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72162
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การกระจาย และ การบริโภคสินค้าประมงทะเล ปัจจัยที่แสดงถึงความสำคัญและการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสำคัญของแหล่งที่ตั้งตลาดสินค้าประมงทะเลใน 5 จังหวัด โดยทำการคัดเลือกจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนในแต่ละเขตประมงทั้ง 5 เขต ได้จังหวัดตัวแทนศึกษาเขตละ 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ตราด ระนองฺ สงขลา สมุทรสาคร และ สุราษฎร์ธานี วิธีการศึกษาทำโดยค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการออกสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3 กลุ่มหลักที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสินค้าประมงทะเล ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ผลิตสินค้าประมงทะเล (ชาวประมง) 2) กลุ่มผู้กระจายสินค้าประมงทะเล (ผู้ซื้อผู้ขาย นายหน้า แพปลา- ผู้ประกอบกิจการท่าเทียบเรือ/สะพานปลา-ผู้ประกอบกิจการห้องเย็น-ผู้ประกอบกิจการขนส่ง-แรงงานรับจ้าง) และ 3) กลุ่มผู้บริโภคสินค้าประมงทะเล (ผู้ประกอบการโรงงาน-ผู้บริโภค) จากนั้น จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบและหาค่าความสำคัญของแหล่งที่ตั้งโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Matrix) จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่แสดงความสำคัญและได้นำมาใช้วิเคราะห์แหล่งที่ตั้งตลาดสินค้าประมงทะเลมี 9 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้าน 1) การเงินการธนาคาร 2) บริการสาธารณูปโภสาธารณูปการ 3) การรวมกลุ่มของผู้ที่เกี่ยวข้อง 4) ตลาดสินค้า 5) แรงงานรับจ้าง 6) บริการน้าแข็ง ห้องเย็น การบรรจุหีบห่อ บริการขนล่ง 7) วัตถุดิบและแหล่งผลิต 8) คมนาคมขนส่ง และ 9) ปัจจัยด้านการบริการของรัฐ และ จงหวัดสงขลามีค่าความสำคัญของแหล่งที่ตั้งตลาดสูงสุด ส่วนสุราษฏร์ธานี สมุทรสาคร ตราด และ ระนอง มีค่าความสำคัญรองลงมาตามลำดับ จากผลการศึกษาได้ข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ (1) ให้จังหวัดสูงขลาชายฝังอ่าวไทย และจังหวัดระนองชายฝังทะเลอันดามันเป็นฐานการทำประมงทะเล โดยเสริมสร้างปัจจัยที่ขาดแคลนของจังหวัดระนองเพิ่มขึ้น โดยภาครัฐและเอกชนร่วมลงทุน (2) บริหารจัดการพื้นที่ที่เชื่อมต่อสุราษฎร์ธานี-สงขลา-ปัตตานี โดยแบ่งแยกหน้าที่และกิจกรรมไม่ให้เกิดความซํ้าซ้อนในกาประกอบกิจกรรมด้านการประมงทะเล โดยเสนอแนะให้สงขลาเป็นจังหวัดหลักให้บริการระดับภาค/ภูมิภาค จังหวัดที่เหลือมีบทบาทรองในระดับพื้นที่จังหวัด นอกจากนั้นรัฐควรให้ความสำคัญในการหาแหล่งจับปลาใหม่ๆ การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในกิจการประมงทะเลการสนับสนุนด้านเงินทุนพัฒนาขนาดของเรือประมงให้ใหญ่ขึ้น การพัฒนาขีดความสามารถแรงงานประมงทะเลตลอดจนสนับสนุนการค้าขายกันเองในพื้นที่เพื่อลดความแตกต่างของราคาของสินค้าประมงทะเลลงเพื่อลดค่าขน ส่งซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าประมงทะเลลดลงโดยรวม en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to study economic activities concerning the production, distribution, and consumption of fishery products, and factors indicating significance of fishery product market; and to make a comparative analysis of fishery product market locations among 5 provinces selected from 5 fishery zones to be case studies, namely, Trad, Ranong, Songkhla, SamutSakhon, and Surat Thani. Research methods involve existing data study and field survey. Structured interview are made on target groups, i.e. fishermen, agents, brokers, pier owners, freezer owners, transportation entrepreneurs, workers, and intermediate and final consumers of fishery products. The research employs Correlation Matrix in comparative analysis and signifying the product market locations. Research results indicate that there are 9 factors indicating of significance of fishery product market, i.e., financing and banking; public utilities and facilities; grouping of concerning people; markets; labors; providers of ice, freezers, packing, and transportation ; raw materials and sources; transportation network; and government supporting services; and that Songkhal has the highest score of significance, seconded by Surat Thani, then, Samut Sakhon, Trad, and Ranong, respectively. According to research results, two major recommendations are made : (1) Promoting Songkhla to be the fishery base on the Gulf of Thailand Coast and Ranong on the Andaman Coast by enhancing lagging factors thorough private and public investment; and (2) Assigning regional service center role to Songkhla, while giving provincial service center role to other 4 provinces in accordance to fishery activities in order to avoid overlapping functions. In addition, the Government should pay attention to finding new fishery sources and activities through cooperation with neighboring countries; giving financial support for modern fishery technology and increasing labor capability; as well as promoting local fishery commerce. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผลิตภัณฑ์ประมง en_US
dc.subject ตลาด -- สถานที่ตั้ง en_US
dc.title การวิเคราะห์เปรียบเทียบและความสำคัญของแหล่งที่ตั้งตลาด สินค้าประมงทะเลในระดับจังหวัด : กรณีศึกษา ตราด ระนอง สงขลา สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี en_US
dc.title.alternative Comparative analysis and significance of fishery product market locations at the provincial level : case studies of Trad, Ranong, Songkhla, Samut Sakhon and Surat Thani en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวางแผนภาค en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record