Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจทัศนะของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับความขัดแย้ง โดยการใช้แบบสอบถามให้ตอบเองและส่งกลับ กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการพัฒนาหรือมีส่วนในการจัดการกรณีความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน จำนวน 444 คน สมมติฐานในการศึกษาคือ ทัศนะของเจ้าหน้าที่รัฐต่อความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้งมีความโน้มเอียงไปในทางอำนาจนิยม การศึกษานี้อาศัยแนวคิดเรื่องอำนาจนิยมของ O’Donnell ควบคู่กับ Gene Sharp ในประเด็นอำนาจและสันติวิธี รวมทั้งใช้เนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นกรอบการอ้างอิงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ข้อมูลที่รวบรวมจากแบบสอบถามครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ 6 ประเด็นคือ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเจ้าหน้าที่รัฐ ทัศนะต่อสังคมการเมืองและโครงสร้างอำนาจใหม่ ทัศนะต่อระบบราชการและการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ทัศนะต่อความขัดแย้ง ทัศนะต่อการใช้อำนาจในความขัดแย้ง และทัศนะต่อการแกไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี ผลการสำรวจแสดงว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในระดับปานกลาง มีความสนใจติดตามปัญหา การชุมนุมประท้วงของชาวบ้าน ส่วนการรับรู้ปัญหาการทำงานของหน่วยงานรัฐเองไม่แตกต่างจากคนทั่วไปนักโดยเฉพาะในประเด็นการขาดประสิทธิภาพในการแก้ใขปัญหา วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าสร้างปัญหาที่สุดคือ การปิดถนน เจ้าหน้าที่รัฐให้นํ้าหนักแก่ข้อเรียกร้องของประชาชนในการขอมีส่วนร่วมตัดสินใจโครงการมากกว่าการเรียกร้องผลประโยชน์ของซาวบ้าน และยังมีความเห็นว่าหน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการเป็นผู้ที่มีบทบาทในการแก้ไขความขัดแย้งได้ดีที่สุด ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ระดับกลางในการประเมินความโน้มเอียงทางอำนาจนิยมของเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่ามีเพียง 1 ใน 3 ของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความโน้มเอียงทางอำนาจนิยม ทั้งนี้เพราะว่าความไม่ขัดเจนในอำนาจนิยมมาจากทัศนะที่เปิดกว้างเกี่ยวกับหลักการการมีส่วนร่วมและสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ยังไม่เปิดกว้างเพียงพอเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติและการแก่ไขความขัดแย้ง