Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในแต่ละวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าสะดวกชื้อประเภทผงชักฟอก โดยจะศึกษาเฉพาะบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Primary Packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง (Secondary Packaging) เน้นในเรื่องการออกแบบพัฒนาในส่วนของเรขศิลป์เป็นหลัก และเลือกกลุ่มตัวอย่างจากตราสินค้าที่ ประสบความสำเร็จด้านยอดขายในตลาดผงชักฟอกของไทย ระเบียบวิธีการศึกษาที่ใช้คือ การวิจัยเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูลทางเอกสารและบุคคลด้วยการลัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) บริษัทผู้นำตลาดผงชักฟอกในประเทศที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 3 อันตับแรกในปี พ.ศ. 2541 มาศึกษาเริ่มศึกษาตั้งแต่การแนะนำสินค้าออกสู่ตลาดครั้งแรก (Launch) จนกระทั่งครบวงจรชีวิตของแต่ละตราสินค้า โดยแนวคิดที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดด้านการตลาด และแนวคิดด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าสะดวกชื้อประเภทผงซักฟอกมีแนวทางการออกแบบดังนี้คือ 1. ช่วงแนะนำ (Introduction) ช่วงแนะนำสินค้าออกสู่ตลาดครั้งแรก (Launch) 1.1 ตราสินค้าที่ใช้จะเป็นตราสัญลักษณ์ประเภท “โลโก้” หรือ '‘คอมบิเนชัน” สีที่ใช้'จะไม่เกิน 3 สี ขนาดที่ใช้ในส่วนความกว้างจะเกือบเป็น 1/1ฃองความกว้างบรรจุภัณฑ์ในส่วนความสูงจะอยู่ระหว่าง 1/3-2/3 ของความสูงบรรจุภัณฑ์ 1.2 สีของบรรจุภัณฑ์จะเป็นสีสดลีเดียวพื้นเรียบไม่มีลวดลาย 1.3 ภาพถ่ายไม่มีการนำมาใช้ 1.4 องค์ประกอบอื่น ๆ ทางการออกแบบ (เส้นและรูปร่างรูปทรง) จะเป็นองค์ประกอบที่ไม่มีเรื่องราวใดๆ สีที่ใช้ไม่เกิน3สี 1.5 สโลแกนจะใช้ประโยคภาษาไทยสั้นๆ สีที่ใช้จะเป็นสีเดียว 1 .6 แถบตัวอักษรจะใช้ข้อความภาษาไทยที่สั้น ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะใช้คำสั้นๆ หรือตัวย่อ 1.7 ข้อความส่วนใหญ่จะเป็นข้อความที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแสดงต่อผู้บริโภค สีที่ใช้ไม่เกิน 2 สี ช่วงแนะนำสินค้าออกสู่ตลาดอีกครั้ง (Relaunch) ตราสินค้า องค์ประกอบอื่นๆ ทางการออกแบบ สโลแกนและแถบตัวอักษรจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน 2. ช่วงเจริญเติบโต (Growth) ตราสินค้าองค์ประกอบอื่น ๆ ทางการออกแบบและสโลแกนจะมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียด ส่วนแถบตัวอักษรจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน 3.ช่วงอิ่มตัว (Maturity) ตราสินค้า และสโลแกนจะปรับเปลี่ยนในรายละเอียด ส่วนขององค์ประกอบอื่น ๆ ทางการออกแบบและแถบตัวอักษรจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน 4. ช่วงถดถอย (Decline) ตราสินค้า และสโลแกนจะปรับเปลี่ยนในรายละเอียด ส่วนขององค์ประกอบอื่น ๆ ทางการออกแบบและแถบตัวอักษรจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน ส่วนองค์ประกอบที่จะไม่มีการปรับเปลี่ยนตลอดช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์คือ สีของบรรจุภัณฑ์