DSpace Repository

ผลของวิธีการให้คะแนนต่อความตรงเชิงทำนายของแบบสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสหวิทยาลัยศรีอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สวัสดิ์ ประทุมราช
dc.contributor.advisor ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
dc.contributor.advisor ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต
dc.contributor.author จำเนียน สุขหลาย
dc.date.accessioned 2021-02-11T07:47:01Z
dc.date.available 2021-02-11T07:47:01Z
dc.date.issued 2530
dc.identifier.isbn 9745676861
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72238
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการคิดคะแนนสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในวิทยาลัยครู ซึ่งวิธีการคิดคะแนน 4 วิธีนั้นคือ การคิดคะแนนแบบความสามารถแท้ (Ѳ) ตามแนวทฤษฎีคุณลักษณะแฝง (Latent Trait Theory ) การคิดคะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก (W) การคิดคะแนนแบบที-ปกติ ( T ) และการคิดคะแนนแบบคะแนนดิบ (S) โดยได้ศึกษาถึงผลของอันดับที่ของผู้เข้าสอบจากการคิดคะแนนแต่ละวิธี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนแต่ละวิธี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนแต่ละวิธีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประสิทธิภาพของแบบทดสอบคัดเลือกที่คิดคะแนนแต่ละวิธี ในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งประชากรในการวิจัยได้แก่ ผู้ที่สอบเข้าศึกษาในวิทยาลัยครูเทพสตรี และวิทยาลัยรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2525 และ 2527 จำนวน 2,469 คน และ 1,429 คน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างนั้นได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เข้าศึกษาในสถาบันดังกล่าวปีการศึกษา 2525 รวม 855 คน และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าศึกษา ปีการศึกษา 2527 รวม 841 คน สำหรับข้อมูลที่ใช้ครั้งนี้ได้แก่คะแนนผลการสอบคัดเลือกของผู้ที่สอบเข้าศึกษา ปีการศึกษา 2525 และ 2527 วิชาที่สอบคือความรู้ทั่วไปซึ่งประกอบด้วย 5 วิชาคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา และวิชาเฉพาะสาขาหรือวิชาเอก ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้ทำคะแนนของผู้เข้าสอบในปีการศึกษา 2527 ให้อยู่ในแต่ละรูปแบบแล้วจัดเรียงลำดับที่และคิดร้อยละที่แปรเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับการคิดแบบคะแนนดิบ หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่คิดแต่ละวิธี และกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพร้อมทั้งจัดเรียงอันดับความมากน้อยของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ดังกล่าว และทำการตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบทดสอบคัดเลือกที่คิดคะแนนแต่ละวิธี โดยอาศัยเกณฑ์ร้อยละของการสลับที่ของอันดับ ขนาดของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณและ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. การคิดคะแนนแบบความสามารถแท้ (Ѳ) ทำให้อันดับที่ของผู้เข้าสอบแปรเปลี่ยนไปจากการคิดแบบคะแนนดิบ (S) มากที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีคิดคะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก (W) และคะแนนที-ปกติ (T) ส่วนวิธีการคิดคะแนนที่ทำให้อันดับที่ของผู้เข้าสอบช้ากับอันดับที่ที่คิดด้วยวิธีคะแนนดิบ (S) มากที่สุด คืออันดับที่ที่คิดคะแนนด้วยวิธีที-ปกติ (T) และถ่วงน้ำหนัก (W) ในวิทยาลัยครูเทพสตรีและวิทยาลัยรำไพพรรณีตามลำดับ 2. คะแนนสอบคัดเลือกที่คิดด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 4 วิธี มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แทบทุกวิชาเอก ยกเว้นคะแนนความสามารถแท้ (Ѳ) กับคะแนนที่คิดด้วยวิธีอื่นของวิชาเอกการอาหาร ไฟฟ้า ดนตรี และเกษตรศาสตร์ ในวิทยาลัยครูเทพสตรีและวิทยาลัยรำโพพรรณีตามลำดับ3. คะแนนสอบคัดเลือกที่คิดด้วยแต่ละวิธีส่วนใหญ่ผู้มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ส่วนที่มีความสัมพันธ์กันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นคะแนนความสามารถแท้ (Ѳ) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาเอก
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการคิดคะแนนสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในวิทยาลัยครู ซึ่งวิธีการคิดคะแนน 4 วิธีนั้นคือ การคิดคะแนนแบบความสามารถแท้ (Ѳ) ตามแนวทฤษฎีคุณลักษณะแฝง (Latent Trait Theory ) การคิดคะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก (W) การคิดคะแนนแบบที-ปกติ ( T ) และการคิดคะแนนแบบคะแนนดิบ (S) โดยได้ศึกษาถึงผลของอันดับที่ของผู้เข้าสอบจากการคิดคะแนนแต่ละวิธี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนแต่ละวิธี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนแต่ละวิธีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประสิทธิภาพของแบบทดสอบคัดเลือกที่คิดคะแนนแต่ละวิธี ในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งประชากรในการวิจัยได้แก่ ผู้ที่สอบเข้าศึกษาในวิทยาลัยครูเทพสตรี และวิทยาลัยรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2525 และ 2527 จำนวน 2,469 คน และ 1,429 คน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างนั้นได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เข้าศึกษาในสถาบันดังกล่าวปีการศึกษา 2525 รวม 855 คน และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าศึกษา ปีการศึกษา 2527 รวม 841 คน สำหรับข้อมูลที่ใช้ครั้งนี้ได้แก่คะแนนผลการสอบคัดเลือกของผู้ที่สอบเข้าศึกษา ปีการศึกษา 2525 และ 2527 วิชาที่สอบคือความรู้ทั่วไปซึ่งประกอบด้วย 5 วิชาคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา และวิชาเฉพาะสาขาหรือวิชาเอก ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้ทำคะแนนของผู้เข้าสอบในปีการศึกษา 2527 ให้อยู่ในแต่ละรูปแบบแล้วจัดเรียงลำดับที่และคิดร้อยละที่แปรเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับการคิดแบบคะแนนดิบ หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่คิดแต่ละวิธี และกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพร้อมทั้งจัดเรียงอันดับความมากน้อยของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ดังกล่าว และทำการตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบทดสอบคัดเลือกที่คิดคะแนนแต่ละวิธี โดยอาศัยเกณฑ์ร้อยละของการสลับที่ของอันดับ ขนาดของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณและ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. การคิดคะแนนแบบความสามารถแท้ (Ѳ) ทำให้อันดับที่ของผู้เข้าสอบแปรเปลี่ยนไปจากการคิดแบบคะแนนดิบ (S) มากที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีคิดคะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก (W) และคะแนนที-ปกติ (T) ส่วนวิธีการคิดคะแนนที่ทำให้อันดับที่ของผู้เข้าสอบช้ากับอันดับที่ที่คิดด้วยวิธีคะแนนดิบ (S) มากที่สุด คืออันดับที่ที่คิดคะแนนด้วยวิธีที-ปกติ (T) และถ่วงน้ำหนัก (W) ในวิทยาลัยครูเทพสตรีและวิทยาลัยรำไพพรรณีตามลำดับ 2. คะแนนสอบคัดเลือกที่คิดด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 4 วิธี มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แทบทุกวิชาเอก ยกเว้นคะแนนความสามารถแท้ (Ѳ) กับคะแนนที่คิดด้วยวิธีอื่นของวิชาเอกการอาหาร ไฟฟ้า ดนตรี และเกษตรศาสตร์ ในวิทยาลัยครูเทพสตรีและวิทยาลัยรำโพพรรณีตามลำดับ3. คะแนนสอบคัดเลือกที่คิดด้วยแต่ละวิธีส่วนใหญ่ผู้มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ส่วนที่มีความสัมพันธ์กันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นคะแนนความสามารถแท้ (Ѳ) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาเอก
dc.description.abstractalternative The main purpose of this study was to find an appropriate scoring method for screening purposes for some teachers colleges from 4 methods viz. 1) Latent Trait Theory-based Method (Ѳ), 2) Weighting Score Method (W), 3) Normalized T-Score Method (T), and 4) Row Score Method (S). The rank consistency of the entrants, the correlations among the transformed scores of the methods, the correlations between the scores and the achievement. scores, and the multiple-correlation coefficients of the tests basing on the transformed scores were all taken into consideration. Of 2,469 and 1,479 applicants from Tepsatri Teachers College and Rumpaipunnee College in 1982 and 1984, 855 and 841 were used as the samples respectively. The tests used as the instruments were the ones testing on Mathematics, Sciences, Thai, English, Social Studies and some specialized or major subjects. The achievement of all the samples was also used. The samples' entrance scores in 1984 were transformed into the scores of the 4 methods and then ranked. Based upon the raw score ranks, the percentages of rank consistency of the other 3 methods were calculated. The correlations between the transformed scores and achievement scores, the ranks of all the correlation coefficients and the multiple correlation coefficients of all the tests were all also calculated. When the percentages of rank consistency, the magnitudes of multiple correlation coefficients and the sizes of the standard error of predictions of the tests were considered as criteria, the following findings were found: 1. The Latent Trait Theory-based Method (Ѳ) makes the rank consistency of the raw scores changed the most when compared with the other 2 methods. The Normalized T-Score Method (T) yields the highest rank consistency and the Weighting Score Method (W) yields in Tepsatri College and Rampaipannee College respectively. 2. The transformed scores of all the tests correlate each other positively and significantly (P =.01) except that of the Latent Trait Theory-based Method (Ѳ) and other transformed scores on foods, Electrics, Music and Agriculture.
dc.description.abstractalternative The main purpose of this study was to find an appropriate scoring method for screening purposes for some teachers colleges from 4 methods viz. 1) Latent Trait Theory-based Method (Ѳ), 2) Weighting Score Method (W), 3) Normalized T-Score Method (T), and 4) Row Score Method (S). The rank consistency of the entrants, the correlations among the transformed scores of the methods, the correlations between the scores and the achievement. scores, and the multiple-correlation coefficients of the tests basing on the transformed scores were all taken into consideration. Of 2,469 and 1,479 applicants from Tepsatri Teachers College and Rumpaipunnee College in 1982 and 1984, 855 and 841 were used as the samples respectively. The tests used as the instruments were the ones testing on Mathematics, Sciences, Thai, English, Social Studies and some specialized or major subjects. The achievement of all the samples was also used. The samples' entrance scores in 1984 were transformed into the scores of the 4 methods and then ranked. Based upon the raw score ranks, the percentages of rank consistency of the other 3 methods were calculated. The correlations between the transformed scores and achievement scores, the ranks of all the correlation coefficients and the multiple correlation coefficients of all the tests were all also calculated. When the percentages of rank consistency, the magnitudes of multiple correlation coefficients and the sizes of the standard error of predictions of the tests were considered as criteria, the following findings were found: 1. The Latent Trait Theory-based Method (Ѳ) makes the rank consistency of the raw scores changed the most when compared with the other 2 methods. The Normalized T-Score Method (T) yields the highest rank consistency and the Weighting Score Method (W) yields in Tepsatri College and Rampaipannee College respectively. 2. The transformed scores of all the tests correlate each other positively and significantly (P =.01) except that of the Latent Trait Theory-based Method (Ѳ) and other transformed scores on foods, Electrics, Music and Agriculture.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.124
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject สหวิทยาลัยศรีอยุธยา -- การสอบคัดเลือก
dc.subject วิทยาลัยครู -- การสอบคัดเลือก
dc.subject การสอบ -- การให้คะแนน
dc.subject การวัดผลทางการศึกษา -- ไทย
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.subject Teachers colleges -- Thailand -- Entrance examinations
dc.subject Examinations -- Scoring
dc.subject Educational tests and measurements -- Thailand
dc.title ผลของวิธีการให้คะแนนต่อความตรงเชิงทำนายของแบบสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสหวิทยาลัยศรีอยุธยา
dc.title.alternative The effect of differential weighting methods on predictive validity of entrance examination tests in United College of Sri Ayuthaya
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวัดและประเมินผลการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor Taweewat.p@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1987.124


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record