Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของปรัชญาอัตกิภาวนิยมที่มีต่อวรรณกรรมของ เค็นสะบุโระ โอเอะ กับ ชาติ กอบจิตติ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดที่แสดงถึงปรัชญาอัตถิภาวนิยม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตน ผลการวิจัยพบว่าเค็นสะบุโร โอเอะ กับชาติ กอบจิตติ แสดงให้เห็นถึงการแสวงหาอัตถิภาวนิยมที่แท้จริงในวรรณกรรมด้วยการปฏิเสธการดำรงชีวิตอย่างจอมปลอมที่เรียกว่าเป็นการหลอกตัวเอง เมื่อพิจารณาจากลักษณะของแก่นความคิดสำคัญซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้วรรณกรรมของนักประพันธ์ทั้งสองท่านที่มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน วรรณกรรมของนักประพันธ์ทั้งสองคนมีพัฒนาการที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ กล่าวคือ วรรณกรรมของโอเอะ ในระยะแสดงอัตถิภาวะในแง่ที่ “ถูกกักกัน” “ไม่มีทางออก" เหมือน “ถูกกักกันอยู่ในกำแพง’' ระยะที่สอง เป็นการแสดงออกถึงการเลือกด้วยเจตนาอันเป็นการแสดงถึง อัตถิภาวะอย่างแท้จริงเป็นการแสดงออกถึงอัตถิภาวะในแง่ที่เป็นความรับผิดชอบ วรรณกรรมของชาติ กอบจิตติ ในระยะแรก ดูจะขาดความชัดเจนในการนำเสนออัตถิภาวนิยม ในระยะที่สาม เป็นการแสดงถึงอัตถิภาวะที่สมบูรณ์ ส่วนในระยะที่สาม เป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งเรียกได้ว่าเป็น "อัตถิภาวนิยมแนวพุทธศาสนา” นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ผลงานทั้งหมดของโอเอะและชาติ กอบจิตติ เป็นการแสวงหาอัตถิภาวนิยมอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการหาทางหลีกหนีไปจากโลกแห่งการหลอกลวง แต่ข้อแตกต่างในวรรณกรรมของนักเขียนทั้งสองคนคือ ตัวละครของโอเอะจะแสดงอัตถิภาวะด้วยวิธีการเป็นฝ่ายกระทำใน ขณะที่ตัวละครของชาติ กอบจิตติจะแสวงหาอัตกิภาวะด้วยวิธีการเป็นฝ่ายถูกกระทำ