Abstract:
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและประชากร มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่สอดคล้องกับระบบชลประทาน เกษตรกรมีความชำนาญในการทำนาเป็นอย่างดี และรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เนื่องจากได้รับทราบข่าวสารทั้งจากสื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุ และ โทรทัศน์ และเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร และวิถีชีวิตของเกษตรกรก็เปลี่ยนไปในลักษณะของคนเมืองมากขึ้น จากผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงนำมาสรุปประเภทระดับ และลักษณะผลกระทบของโครงการทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านกายภาพ ตรงกับผลกระทบที่คาดหวังทุกประการ และผลกระทบส่วนใหญ่ก็เป็นด้านบวก ยกเว้นผลกระทบที่มิได้คาดหวังเอาไว้ ได้แก่ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการที่เป็นผลลบ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปัญหาของเกษตรกรและโครงการฯ ปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตโครงการฯ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ปัญหาของเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่สืบ เนื่องมาจากปัจจัยที่นอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบของโครงการ และปัญหาของโครงการฯ ที่มีผลมาจากปัจจัยทางด้านธรรมชาติการบริหารและเกษตรกรเอง แม้แต่ภายในเขตโครงการฯ ก็มีความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนา ปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตโครงการที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปัญหาการส่งน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อปัญหาอื่น ๆ จากผลการวิจัยจึงได้เสนอแนะให้ ปรับปรุงโครงการ เป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ มาตรการเร่งด่วน หรือระยะสั้น และมาตรการระยะยาว มาตรการบางอย่างอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่ปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น แต่มาตรการบางอย่างจำเป็นต้องใช้เงินทุน โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบชลประทาน มาตรการระยะสั้นมีดังนี้ การวางแผนการเพาะปลูก การปรับปรุงการส่งน้ำ การบำรุงรักษาระบบชลประทาน และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โครงการ ส่วนมาตรการระยะยาว ได้แก่ การปรับปรุงระบบชลประทาน การมีส่วนร่วมของเกษตรกร และการใช้กฎหมายควบคุมการใช้น้ำ ดังนั้นการดำเนินโครงการชลประทานจะประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากเกษตรกร และการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาล โครงการชลประทานมโนรมย์ เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง มีพื้นที่โครงการประมาณ 257,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานประมาณ 232,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่ทำนาปรัง ประมาณ 80 ,000 ไร่ ประตูระบายน้ำตั้งอยู่ที่บ้านเนินไผ่ ตำบลวัดโคก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท วัตถุประสงค์หลักในการก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหาจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา และปัญหาขาดแคลนน้ำโครงการฯ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2495-2505 และมีการปรับปรุงพื้นที่มาตลอด ต่อมาในปี 2521 ก็มีการจัดรูปที่ดินขึ้นในเขตโครงการฯ ซึ่งคลุมพื้นที่ประมาณ 87,750 ไร่ วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงผลกระทบของโครงการ ชลประทานมโนรมย์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่โครงการในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ประชากรโดยทำการศึกษาวิจัยด้านข้อมูลจาก เอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า โครงการชลประทานมโนรมย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่โครงการ ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมประชากร ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพนั้น ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ โครงสร้างการบริการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบคลองชลประทาน และระบบถนน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะวิธีการการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงสุด การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดคือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนดำเนินโครงการ ทั้งนี้เนื่องมาจากการก่อสร้างระบบชลประทานและการปรับปรุงพื้นที่ เป็นประการหลัก และปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่สืบเนื่องมาจากประเด็นนี้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ปัจจัยส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต ได้แก่ พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ปุ๋ยเคมี และยากำจัดศัตรูพืช และการนำเอาเครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตรมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไถนา อีกประการหนึ่งการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็ช่วยเพิ่มผลผลิตได้เช่นกัน จากผลของการเพิ่มผลผลิตทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปี 2515 ประมาณ 5 เท่าตัว ถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะสูงกว่าเดิมประมาณ 2 เท่าตัว และราคาผลผลิตตกต่ำด้วยก็ตาม ส่วนการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืชอื่น ๆ มีน้อย สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านวัตถุประสงค์ที่เลี้ยงเพื่อการค้ามากขึ้น