DSpace Repository

ผลกระทบของการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง ต่อบัญชีเดินสะพัดและผลผลิตของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
dc.contributor.author อำนาจ อุดมสมุทรหิรัญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-02-22T04:51:35Z
dc.date.available 2021-02-22T04:51:35Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741313551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72337
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract สินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการนำเข้าของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน โดยเป็นการนำเข้าเพื่อไข้ในการผลติ สินค้าและบริการ ทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ตามการที่ภาคการผลิตภายในประเทศจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยการผลิตนำเข้าเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นการเสี่ยงต่อความผันผวนของปัจจัยภายนอกที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้การผลิตภายในประเทศต้องชะงักลง รวมไปถึงการชะลอตัวของการส่งออก และส่งผลเสียต่อดุลบัญชีเดินสะพัดในที่สุด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีต่อดุลบัญชีเดินสะพัดและ ผลผลิตของประเทศไทย โดยสร้างแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคขนาดเล็กเพื่อใช้ในการจำลองสถานการณ์ที่มีความผันผวน ของปัจจัยภายนอกเกิดขึ้น การศึกษาแบ่งออกเป็น 6 กรณีคือ 1) กรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น (เงินบาทอ่อนค่าลง) 2) กรณีที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3) กรณีที่ราคานำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 4) กรณีที่ราคานำเข้าสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น 5) กรณีที่ค่าสัมประสิทธิ์การนำเข้าสินค้าทุนลดลง และ 6) กรณีที่ค่าสัมประสิทธิ์การนำเข้าสินค้าขั้นกลางลดลง ผลการศึกษาพบว่า ในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่ทำให้การนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางต้องชะงักลงไป อันได้แก่ ค่าเงินบาทอ่อนลง ราคานำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น สัมประสิทธิ์การนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางลดลง จะ ทำให้การผลิตของประเทศได้รับผลกระทบไปในทางลบด้วย และยังทำให้การส่งออกลดต่ำลงกว่าภาวะปกติ ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนลงและราคานำเข้าเพิ่มขึ้น ยังทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเลวลงด้วย สำหรับกรณีที่มีเหตุการณ์ภายนอกเร่งให้เกิดการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น มีการลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้น จะทำให้ผลผลิตของประเทศเพิ่มขึ้น และการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย แต่ไม่ทันกับการเพิ่มขึ้นของการนำเข้า ซึ่งในที่สุดจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเลวลงเช่นเดียวกัน การศึกษายังนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่ควรเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมปลายน้ำก่อน โดยยอมให้มีการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้ากลางได้โดยปราศจากข้อกีดกันที่เข้มงวด เพี่อให้อุตสาหกรรมเกิดและเติบโตขึ้นไต้ภายในประเทศ แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งควรมีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยงย้อนกลับไปยังอุตสาหกรรมต้นน้ำเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าสิ้นค้าทุนและสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศ อันจะเป็นการช่วยดุลบัญชีเดินสะพัดให้ดีขึ้นและเสี่ยงต่อแรงกระทบจาภายนอกน้อยลง en_US
dc.description.abstractalternative Capital and intermediate goods are major components of Thailand’s imports. They are used as inputs of production both for domestic consumption and exports. The production economy, therefore, relies heavily on imports. In case that capital and intermediate goods cannot be regularly imported, domestic production might be retarded, and thereby having a negative effect on the current account balance. This study aims at studying the impact of the fluctuation of exogenous imports of capital and intermediate products on current account balance and output of Thailand. A small macroeconometric model was constructed to simulate various situations in which the fluctuation occurs. There are 6 cases involved : (1) an increase in exchange rates, 2) an increase in net inflows of foreign direct investment, (3) an increase in prices of capital goods, (4) an increase in prices of intermediate goods, (5) a decrease in exogenous capital goods import volume, and 6) a decrease in exogenous intermediate goods import volume. The study found that decreasing imports of the capital and intermediate goods would deter exports and production. If exchange rates or prices of the capital or intermediate products increased, the current account balance would be worsen. On the contrary, increasing imports of the capital and intermediate goods would help raise exports and production. However, the current account balance is still worsen due to higher imports. One of the research implications suggests that industrialization process in the country should begin with production of downstream industries by preventing capital and intermediate goods from being highly protected. In the long term, however, upstream production should be gradually promoted to enhance backward linkages. This would help the country to be more self-sufficient in meeting demand for capital and intermediate goods and less exposed to risk from exogenous shocks in the longer term without jeopardizing industrialization process. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บัญชีเดินสะพัด en_US
dc.subject การค้าระหว่างประเทศ en_US
dc.subject ดุลการค้า -- ไทย en_US
dc.title ผลกระทบของการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง ต่อบัญชีเดินสะพัดและผลผลิตของไทย en_US
dc.title.alternative The impact of capital and intermediate goods imports on current account balance and output of Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record