Abstract:
การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ในด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ระบบบริการทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 634 คน จาก 63 โรงเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งเขตสถานที่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2543 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2544 สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ Chi-square ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Mann Whitney บ test และ Kruskal-wallis H test ผลการศึกษา พบว่า ครูร้อยละ 67.5 เป็นหญิง ร้อยละ 32.5 เป็นชาย ร้อยละ 56.6 อยู่ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 55.2 มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยประจำตัว ร้อยละ 57.5 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 3.5 มีภาวะอ้วน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร ครูร้อยละ 94.6 มีการปฏิบัติในระดับกลางและระดับสูง ยกเว้น การดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว ที่ครูร้อยละ 42.5 มีการปฏิบัติในระดับต่ำ ด้านการออกกำลังกาย ร้อยละ 25.2 มีการปฏิบัติสมํ่าเสมอ ร้อยละ 74.8 ปฏิบัติไม่สมํ่าเสมอ โดยมีสาเหตุจากไม่มีเวลา (ร้อยละ 85.9) ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 11.2) และความไม่อยากทำ (ร้อยละ 10.2) ด้านการใช้ระบบบริการทางสุขภาพ ร้อยละ 53.1 ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป ร้อยละ 52.6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ในภาวะเจ็บป่วย ครูเลือกรับบริการ จากสถานบริการที่ใกล้หรือสะดวก (ร้อยละ 48.1) จากสถานบริการทีเคยไปรับบริการ(ร้อยละ 30.3) และจากสถานบริการที่พึงพอใจ (ร้อยละ 21.6) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมส่งเสรีมสุขภาพของครูระหว่างโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และไม่เช้าร่วมโครงการฯ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P > 0.05 ) ในทุกรายด้าน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครู ได้แก่ เพศ รายได้ของครอบครัว การรับรู้ประโยชน์การรับรู้ความสามารถปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แก่นักเรียน ได้แก่ การสนับสนุนจากกลุ่มบุคคล และ การรับรู้บทบาทหน้าที่ ผลการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดทำโครงการสุขภาพของครู ให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น