DSpace Repository

พระบรมราโชบายทางการเมืองของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยนาถ บุนนาค
dc.contributor.author สุทธินี จันทร์รัตน์
dc.date.accessioned 2021-02-23T17:33:20Z
dc.date.available 2021-02-23T17:33:20Z
dc.date.issued 2530
dc.identifier.isbn 9745676438
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72376
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
dc.description.abstract เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองยังไม่มั่นคง เกิดความขัดแย้งทางการเมืองภายใน และภายนอกพระราชอาณาจักร แต่พระองค์ทรงสามารถปกครองบ้านเมืองได้อย่างสงบ จนกระทั่งกล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองปราศจากการทำศึกสงครามใหญ่กับประเทศเพื่อนบ้านดังแต่ก่อน และบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับพระบรมราโชบายทางการเมืองของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา พระบรมราโชบายทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโดยจะพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดพระบรมราโชบายทางการเมืองของพระองค์ จุดประสงค์ในการดำเนินพระบรมราโชบาย วิธีการดำเนินพระบรมราโชบายทางการเมือง และผลของการดำเนินพระบรมราโชบายเหล่านั้น ผลของการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยตั้งแต่พระเยาว์ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในสมัยนั้น เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนด และดำเนินพระบรมราโชบายทางการเมืองของพระองค์ ที่สำคัญ 2 ประการคือ พระบรมราโชบายสร้างเสริมความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนความสงบภายในราชอาณาจักร และพระบรมราโชบายต่างประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเมืองของราชอาณาจักร การดำเนินพระบรมราโชบาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ประการแรกนั้นคือ การควบคุมอำนาจของพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ให้อยู่ในดุลย์อำนาจซึ่งกันและกัน มิให้อำนาจตกอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป ทรงปรับปรุงระเบียบควบคุมสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับพยายามให้แนวทางปฏิบัติตน ในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยผ่านทางพุทธศาสนา วรรณกรรม และการละคร ส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้ราชวงศ์จักรีมีความมั่นคงขึ้น ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับการดำเนินพระบรมราโชบายต่างประเทศ เพื่อให้บรรจุวัตถุประสงค์ ประการที่ 2 ทรงพยายามรักษาอำนาจเหนือเมืองประเทศราชไว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งโดยสันติวิธีและการใช้กำลังทหาร เตรียมบ้านเมืองให้ เข้มแข็งมั่นคง พร้อมทั้งกำลังคนและอาวุธยุทโธปกรณ์ สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก ทั้งในลักษณะมิตรและศัตรู เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของราชอาณาจักร ส่งผลให้ไทยสามารถรักษาประเทศราชไว้ได้ดังเดิม หัวเมืองใหญ่ ๆ ได้รับการปรับปรุงให้เข้มแข็ง ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ยังเอื้อต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร ด้านการสะสมอาวุธปืน การสืบข่าวการเมืองต่างประเทศ และการขยายตัวของกิจการค้าต่างประเทศ ทำให้รัฐมีเงินไปทำนุบำรุงประเทศมากขึ้น กล่าวได้ว่า การคำาเนินพระบรมราโชบายทางการเมือง ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ และราชอาณาจักรมั่นคงขึ้น บ้านเมืองปราศจากสงครามใหญ่ ๆ เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรมเจริญขึ้น
dc.description.abstractalternative When King Rama II ascended the throne as the second king of the Chakri Dynasty, there were considerable internal and external conflicts, However, he was able to cope with the situation and to rule the country peacefully. During his reign, the country did not have to fight big wars against any neighbouring countries as she did before, and the economy flourished. The reasons for his success and the strategy he used were of special interest to this researcher. The main purpose of this thesis is to investigate the factors that influenced the determination of the policy, the objectives, the methods and the consequences of the policies of King Rana II. The results of the research show that two factors influenced his determination of political strategy i.e., his youthful experiences and the political situation during that period. His policy was twofold: 1) to reinforce the stability of the monarchical institution and to maintain peace in his realm, and 2) to establish foreign relationships for the security of the kingdom. In pursuing the first objective, he controlled the authority of his relatives and nobles by maintaining a balance of power. He also revised social regulations for his people and tried to suggest norms of social behavior through religion, literature, and drama. This resulted in a strengthening of the monarchy under the Chakri Dynasty. The kings subjects enjoyed a better life. To achieve the second objective, he made an effort to retain power over Siam's tributary states. The country was at peace, secure, and in a state of military preparedness. King Rama II established friendly relations with neighbouring and western countries for the security of the kingdom e.g., bought fire-arms, sought intelligence about foreign affairs, and extended trade to increase the state income. He used the money for expenditure to stabilize national security and to increase prosperity in all aspects. It can be stated that King Rama II's conduct of politics was one of the important factors which made his reign peaceful, strengthened the monarchical institution, made the kingdom stable, and kept the economy and literature flourishing.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.137
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2310-2367
dc.subject ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 2
dc.subject ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 2
dc.subject Phutthaloetla Naphalai, King of Siam, 1768-1824
dc.subject Thailand -- Politics and government -- 18th century
dc.subject Thailand -- History -- 18th century
dc.title พระบรมราโชบายทางการเมืองของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
dc.title.alternative The political strategy of King Rama II
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ประวัติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Piyanart.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1987.137


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record