dc.contributor.advisor |
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว |
|
dc.contributor.author |
อุทัยวรรณ แก้วสอาด |
|
dc.date.accessioned |
2021-02-24T15:21:08Z |
|
dc.date.available |
2021-02-24T15:21:08Z |
|
dc.date.issued |
2530 |
|
dc.identifier.isbn |
9745677841 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72395 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งที่จะศึกษาถึงแบบแผนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แหนราษฎรของข้าราชการตำรวจ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยได้ทำการสอบถามจากข้าราชการตำรวจจำนวน 400 นาย ในการศึกษานี้ ถือว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ อายุ การศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการรับราชการเป็นตัวแปรอิสระ และทัศนคติที่มีต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแปรตาม จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของนายตำรวจ มีความสัมพันธ์กับแบบแผนพฤติกรรรมการลงคะแนนเสียง กล่าวคือ ข้าราชการตำรวจที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมปานกลางขึ้นไป มีการศึกษาสูง มีอายุอยู่ในช่วงวัยกลางคน (40-49 ปี) และสูงอายุ (50-59 ปี ) มีเนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียง เลือกตั้งตามความต้องการของตัวเอง และผู้ที่มีอายุการรับราชการนานมีแนวโน้มจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครไว้ล่วงหน้า และในการออกเสียงเลือกตั้งนั้น ไม่ว่าข้าราชการตำรวจเหล่านี้จะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกันอย่างไร ก็มักจะคำนึงถึงผู้สมัครและพรรคการเมืองรวมกันมากกว่าจะคำนึงถึงเฉพาะบุคคลหรือพรรคการเมืองเท่านั้น นอกจากนี้ พบว่า ทัศนคติหรือความรู้สึกต่อระบบการเมือง สถานการณ์ทางการเมืองภายในและภายนอกประเทศไม่มีผลกระทบต่อการไปออกเสียงเลือกตั้ง ส่วนแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจเหล่านี้คำนึงถึงตัวผู้สมัครมากขึ้นกว่าการที่จะคำนึงถึงเฉพาะพรรคการเมือง |
|
dc.description.abstractalternative |
The thesis is an attempt to study the pattern of voting in general election among the metropolitan police officers. The study is based on 400 police officers as population of study. Socio-economic factors--age, education background, income, and services period are considered as independent variables while police officers' attitude toward the member of parliament is treated as dependent variable. The study finds out that socio-economic factors is correlated to the pattern of voting among the police officers. That means, the police officers from the middle socio-econamic level, of high level of education, of middle age and over tend to go to vote by themselves. And if they are long in service, their choice of candidate is made on voting day. Their choice of candidate and party is made together rather than separate regardless of their socio-economic background. Moreover the study also reach the conclusion that attitude does not have any impact on voting behavior. However this benavior is going to change since the police officers tend to vote on the basis of person more than of political party. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.139 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การลงคะแนนเสียง -- ไทย |
|
dc.subject |
ตำรวจนครบาล -- กิจกรรมทางการเมือง |
|
dc.subject |
Voting -- Thailand |
|
dc.subject |
Police -- Thailand -- Political activity |
|
dc.title |
พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของตำรวจนครบาล |
|
dc.title.alternative |
Voting behavior of metropolitan police |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การปกครอง |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.1987.139 |
|