Abstract:
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑, ศึกษาความสนใจในการอ่าน ความถี่และเวลาที่ใช้ในการอ่าน จำนวนบทความ ประเภทของเรื่องและชื่อวารสารที่อ่าน จุดมุ่งหมายและแรงจูงใจในการอ่าน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการอ่านวารสารทาง บรรณารักษศาสตร์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในสถาบันอุคมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ๒. ศึกษาความต้องการในการอ่านเรื่อง (Subject) ต่าง ๆ ในวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย สมมุติฐานการวิจัยนี้ คือ ๑. อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ส่วนใหญ่ ใช้เวลาสำหรับการอ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์มาก ๒ . อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ส่วนใหญ่ อ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ภาษาอังกฤษมากกว่าวารสารภาษาไทย ๓. เรื่องที่อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์สนใจอ่านสัมพันธ์กับรายวิชาที่รับผิดชอบ การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามไปยังอาจารย์ประจำผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในสถาบันอุคมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ที่มีการสอนวิซาบรรณารักษศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน ๙๐ คน ทั้งนี้ ไม่รวมอาจารย์ที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อ ดูงาน หรือฝึกอบรม และได้รับแบบสอบถามคืนมาจากอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ ๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘๙ ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งออกไปทั้งหมด หลังจากนั้น นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีทางสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. ในปีการศึกษา ๒๕๒๘ อาจารย์ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนอ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้เวลาสำหรับการอ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์มาก ความถี่ในการอ่าน คือ ๒ - ๓ วันต่อครั้งและทุกวัน และใช้เวลาในการอ่านแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยนานประมาณ ๑ - ๒ ชั่วโมง จำนวนบทความที่อ่าน คือ ๑ - ๒๐ บทความ อาจารย์ส่วนใหญ่อ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ภาษาอังกฤษมากกว่าวารสารภาษาไทย วารสารทางบรรณารักษศาสตร์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับความสนใจมากเป็นอันดับ ๑ ได้แก่ วารสารห้องสมุด และ Library Journal ในการอ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ อาจารย์อ่านเฉพาะเรื่องที่สนใจ ประโยชน์ที่อาจารย์ได้รับจากการอ่านในระดับมาก คือ เพื่อนำเนื้อหามาประกอบการเรียนการสอน รองลงมา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ตลอดจนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ส่วนแรงจูงใจที่ทำให้อาจารย์สนใจอ่าน คือ เนื้อเรื่องในวารสารตรงกับความสนใจและมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และในการอ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ อาจารย์ไม่ประสบปัญหาและอุปสรรคใดในระดับมาก ๒. อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ต้องการอ่านเรื่องทางด้านการบริหาร การบริการ และสารนิเทศศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับมาก ส่วนเรื่องทางด้านงานเทคนิค และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด อาจารย์ต้องการอ่านในระดับปานกลาง สำหรับข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์จำนวนมากที่สุด เห็นว่าควรจัดให้มีขึ้น คือ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาชีพระหว่างอาจารย์ผู้สอนต่างสถาบัน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้ คือ ช่วยให้หราบถึงความสนใจ และความต้องการในการอ่านวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งผลที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ของไทย และห้องสมุดสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดหาและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวารสารทางวิชาชีพ รวมทั้งการจัดบริการสนเทศสำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์