Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ เพี่อเปรียบเทียบความ สามารถในการทำนายอัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ของแบบ จำลอง CAPM (Capital Asset Pricing Model) และ APT (Arbitrage Pricing Theory Model) รวมทั้งได้ทำการศึกษาถึงอิทธิพลของตัวแปรความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มิผลต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์โดยตัวแปรความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เลือกนำมาศึกษา ได้แก่ อัตราการค้า ราคานํ้ามัน ดัชนีเอ็มเอสซีไอ ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร ปริมาณเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติในการประมาณสมการถดถอยแบบจำลองทั้งสองด้วยข้อมูลรายเดือน ซึ่งได้แบ่งทำการศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา ดือ ช่วงเวลาระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 และช่วงเวลาระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2540 จนถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง CAPM ไม่สามารถอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ได้อย่างมินัยสำคัญ ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งสองช่วงเวลา ส่วนแบบจำลอง APT ในช่วงเวลาเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 แบบจำลอง APT ไม่สามารถอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ได้อย่างมีนัยสำคัญในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ในช่วงเวลาเดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 แบบจำลอง APT กลับสามารถอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ในกลุ่มทุกอุตสาหกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มิอิทธิพลต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างมินัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณเงิน มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์แทนในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อัตราการค้ามีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนหลัก ทรัพย์ในกลุ่มธนาคาร และดัชนีราคาผู้บริโภคมิอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ในกลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มพลัง งาน เมื่อทำการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำนายอัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ ระหว่างแบบจำลอง CAPM และแบบ จำลอง APT ในทั้งสองช่วงเวลา พบว่าแบบจำลอง APT มีประสิทธิภาพในการทำนายอัตราผลตอบแทนในการทำนายอัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ดีกว่า แบบจำลอง CAPM ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งสองช่วงเวลา