Abstract:
สิ่งที่น่าคิดประการหนึ่งระหว่างองค์การธุรกิจเอกชนกับองค์การรัฐบาลก็คือทำไมองค์การธุรกิจเอกชนจึงให้ความสนใจในเรื่องการประเมินผลงานมากในขณะที่องค์การรัฐบาลมิได้ให้ความสนใจมากเท่าที่ควรคำตอบก็คือองค์การธุรกิจเอกชนจะดำเนินการอยู่ได้ก็ด้วยการมีกำไรดังนั้นจึงต้องมีระบบประเมินผลงานที่ละเอียดรัดกุมและสามารถวัดผลปฏิบัติงานของพนักงานได้อย่างแม่นยำและเนื่องจากผลของการประเมินจะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของพนักงานในแง่ที่ว่าพนักงานผู้ใดมีผลประเมินดีก็จะได้รับเงินเดือนขึ้นหรือได้เลื่อนตำแหน่งหากผู้ใดมีผลประเมินต่ำก็อาจได้รับการขอร้องให้ลาออกไปองค์การธุรกิจเอกชนจึงต้องเข้มงวดในเรื่องประเมินผลงานดังนั้นการศึกษาถึงระบบประเมินผลงานขององค์การธุรกิจเอกชนเพื่อให้เข้าใจในวิธีการและเทคนิคในการประเมินผลงานรวมทั้งศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของระบบที่ใช้อยู่ว่ามีอย่างไรจะเป้นประโยชน์ในแง่ที่ว่าระบบประเมินผลงานขององค์การธุรกิจเอกชนนั้นสมควรนำไปปรับใช้กับองค์การรัฐบาลหรือไม่ทั้งนี้เพราะสิ่งที่จะกระตุ้นให้บุคคลทำงานเต็มี่นั้นนอกจากเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นๆ แล้วระบบประเมินผลงานที่รัดกุมและวัดผลได้อย่างแม่นยำจะมีส่วนในการกระตุ้นให้บุคคลทำงานเต็มที่ด้วย สิ่งแรกที่จำเป็นต้องศึกษาก็คือแบบของการประเมินผลที่ใช้กันอยู่เป็นหลักสากลทั่วไปซึ่งพอจะสรุปได้กว้างๆ ว่ามี 2 แบบโดยแบ่งตามลักษณะของงานคือ 1. การประเมินผลงานแบบ GRAPHIC TRAITS SCALE การประเมินผลแบบนี้ส่วนมากจะใช้วัดผลงานที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบและไม่อาจวัดผลผลิตออกมาเป็นชิ้นเป็นอันได้ 2. การประเมินผลแบบ PRODUCTION RECORDS หรือแบบ PERIODIC TESTS ซึ่งจะใช้กับงานที่สามารถวัดผลผลิตได้หรือเป็นงานประจำโดยที่ PRODUCTION RECORDS เป็นการวัดจากจำนวนผลผลิต ส่วนแบบ PERIODIC TESTS เป็นการวัดผลผลิตโดยมีเวลาเป็น เครื่องกำหนดด้วย
อย่างไรก็ตามการประเมินผลงานในสองลักษณะดังกล่าวควรมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards) ไว้เป็นบรรทัดฐานที่จะขีดชั้นว่าผลปฏิบัติงานที่วัดออกมานั้นแบบใดเรียกว่าได้มาตรฐานแบบใดเรียกว่ามีผลงานดีเด่นแบบใดเรียกว่ามีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ สำหรับในองค์การธุรกิจเอกชนเทคนิคในการประเมินผลงานอยู่ที่การเลือกแบบประเมินที่สามารถวัดผลออกมาได้อย่างแม่นยำที่สุดซึ่งส่วนใหญ่จะมีฟอร์มประเมินผลงานแบบ Graphic traits Scale ความสำคัญจะอยู่ตรงที่ว่าผู้ประเมินจะต้องพยายามวัดออกมาให้ได้ผลที่แม่นยำที่สุดเพื่อนำผลนั้นไปพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ 1. การขึ้นเงินเดือน 2. การเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย หรือให้ออกไป 3. เพื่อที่จะทราบว่าความสามารถของผู้ได้รับการประเมินนั้นอยู่ในระดับใดสมควรจะได้รับการอบรมใหม่หรือไม่รวมทั้งเพื่อที่จะให้ผู้ได้รับการประเมินรู้ว่าในการทำงานเขายืนอยู่ในระดับอย่างไร ข้อบกพร่องที่จะพบบ่อยๆในองค์การธุรกิจเอกชนในเรื่องการประเมินผลงานก็คือในองค์การธุรกิจเอกชนนั้นมีระบบประเมินผลงานที่ดีแต่ผู้ที่ทำการประเมินบกพร่องไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์หรือมีความลำเอียงเป็นต้นซึ่งจะแก้ไขได้ด้วยการอบรมให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการประเมินผลงาน สรุปได้ว่าการประเมินผลงานในองค์การธุรกิจเอกชนมีผลต่ออนาคตของพนักงานที่ได้รับการประเมินจึงทำให้พนักงานในองค์การธุรกิจเอกชนต้องทำงานเต็มที่และให้ดีที่สุดเพื่อผลดีต่ออนาคตของตนเองส่วนในองค์การรัฐบาลมีกฎ ก.พ. วางไว้ในเรื่องการประเมินผลงานแต่ปรากฎว่าส่วนใหญ่มิได้ทำการประเมินผลงานอย่างจริงจังกล่าวคือแบบฟอร์มสำหรับประเมินผลงานไม่ละเอียดพอและผู้ประเมินมิได้พิจารณาผลงานของผู้ได้รับการประเมินอย่างจริงจังเท่าใดนักและเนื่องจากว่าจุดประสงค์ของการประเมินผลงานนั้นนอกจากเพื่อการขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งแล้วยังทำเพื่อพิจารณาว่าพนักงานหรือข้าราชการผู้นั้นควรปรับปรุงตัวหรือควรได้รับการอบรมอย่างไรหรือไม่ดังนั้นหากองค์การรัฐบาลทำการประเมินผลเพียงเพราะกฎ ก.พ. ระบุไว้การประเมินผลก็มิได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่าที่ควรดังนั้นจึงควรที่จะนำหลักการประเมินผลงานขององค์การธุรกิจเอกชนมาปรับใช้กับองค์การรัฐบาลในแง่ที่ว่าองค์การรัฐบาลควรมีแบบฟอร์มประเมินผลที่ละเอียดกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและผุ้ทำการประเมินจะต้องเคร่งครัดในการประเมินเพื่อให้ผลประเมินออกมาแม่นยำผลประเมินนี้ควรเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของข้าราชการทั้งในแง่การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่งตลอดจนไปถึงการขอให้ออกหาปรากฏว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานผลดีที่จะตามมาจากการปฏิบัติเช่นนี้ก็คือข้าราชการทุกคนจะได้รับผลตอบแทนจากผลปฏิบัติงานของเขาอย่างยุติธรรมการที่จะได้รับเงินเดือนขึ้นมากหรือน้อยได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างไรหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าผลงานที่วัดออกมาดีหรือไม่มิได้ขึ้นอยู่กับการมีพรรคพวกคอยหนุนหลังอยู่ความรู้สึกที่สามัญชนมีต่องานราชการว่า “ทำก็ชาม ไม่ทำก็ชาม” ก็จะหมดไปด้วย